จีนศึกษา ๓๑๐ แผนดำเนินการศูนย์การค้าดิจิทัลจีน – อาเซียน
ข้อพิจารณาสำหรับดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จากแผนดำเนินการศูนย์การค้าดิจิทัลจีน – อาเซียน ซึ่งจะเป็นโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างภาคธุรกิจของไทยกับภาคธุรกิจของกวางสี กล่าวคือ
การที่ศูนย์การค้าดิจิทัลจีน–อาเซียน (中国—东盟数字贸易中心 / China-ASEAN Digital Trade Center) ได้จัดการประชุมส่งเสริมการค้า ณ นครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) เมื่อวันที่ ๑๘ ส.ค.๖๓ เพื่อดึงดูดภาคธุรกิจมีความสามารถในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลมาเข้าร่วมกิจกรรมด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่โดดเด่น โดยเฉพาะในนิคมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะใช้เป็นสำนักงานใหญ่ และให้บริการด้านความช่วยเหลือ นวัตกรรม การฝึกอบรมการค้าอิเล็กทรอนิกส์ การเสนอแนวคิดใหม่และการค้าทั้งออนไลน์กับออฟไลน์ เป็นต้น เป็นโครงการโอเปอเรเตอร์ “ด่านสารสนเทศ” จีน–อาเซียน โดยจะสร้างเป็นต้นแบบด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัลแบบทวิภาคี ซึ่งในวันเดียวกันนั้น ได้มีการลงนามในสัญญา ๑๑ โครงการ เช่นนิคมอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรมและบันเทิงระบบ 5G ของจีน–อาเซียน บริการการเงินข้ามประเทศแบบดิจิทัลของเขตกว่างซี และการบริหารห่วงโซ่อุปทานข้ามประเทศแบบอัจฉริยะระหว่างจีน–อาเซียน เป็นต้น โดยมีมูลค่าในสัญญาเกือบ ๔๐๐ ล้านหยวน
โดยในการประชุมส่งเสริมการค้าดิจิทัลจีน – อาเซียน ดังกล่าว ได้มีการเผยแพร่“แผนดำเนินการศูนย์การค้าดิจิทัลจีน – อาเซียน” ซึ่งแผนดังกล่าวเสนอว่า เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) จะส่งเสริมการสร้างฐานการรวบรวมเกี่ยวกับองค์กรการค้าดิจิทัล แพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าจำนวนมาก รวมทั้งเครือข่ายการค้าดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มพลังแห่งนวัตกรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูง ซึ่งตามแผนศูนย์การค้าดิจิทัลจีน – อาเซียน แบ่งเป็น ๒ ระยะคือ
ระยะแรก (พ.ศ.๒๕๖๒ – ๒๕๖๔) ลงทุน ๕ พันล้านหยวน เพื่อการบรรลุวิสาหกิจที่ตั้งถิ่นฐานมากกว่า ๔,๐๐ แห่ง และสร้างคลังสินค้าในต่างประเทศศูนย์แสดงสินค้าและการค้าในประเทศกลุ่มอาเซียนมากกว่า ๕ แห่ง
ระยะที่สอง (พ.ศ.๒๕๖๕ – ๒๕๖๘) ลงทุน ๒ หมื่นล้านหยวน เพื่อรวบรวมหน่วยงานในตลาดการค้าดิจิทัลมากกว่า ๑๐,๐๐๐ แห่งและมุ่งมั่นที่จะปลูกฝัง บริษัท ๑๐ แห่งที่มีปริมาณธุรกรรมมากกว่า ๑ พันล้านหยวน และสร้างบริษัท ๑๐๐ แห่งที่มีปริมาณธุรกรรมมากกว่า ๑๐๐ ล้านหยวน
ทั้งนี้ การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงของการค้า โดยดำเนินการตาม “แผนแม่บทสำหรับระเบียงใหม่ด้านตะวันตกทั้งทางบกและทางทะเล” รวมทั้ง “เขตการค้าเสรีจีน(กวางสี)” และ “แผนการดำเนินการก่อสร้างด่านข้อมูลสารสนเทศจีน – อาเซียน(๒๐๑๙ – ๒๐๒๑) ได้มีส่วนช่วยสร้างกลไกความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่กว้างขึ้นรวมทั้งให้บริการรองรับความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนได้มากขึ้น อันจะเป็นโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างภาคธุรกิจของกวางสีกับภาคธุรกิจของไทย
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gx.chinanews.com/top/2020-08-19/detail-ifzzazrs9591838.shtml และเว็บไซต์http://www.sz95559.com/szcj/196003.html รวมทั้งเว็บไซต์http://www.caexpo.org/index.php?m=content&c=index&a=show&catid=119&id=239754 และเว็บไซต์http://www.cqyy.net/csnews/2020/0819/49347.html ตลอดจนเว็บไซต์http://m.ce.cn/bwzg/202008/18/t20200818_35551249.shtml และเว็บไซต์https://www.qklw.com/specialcolumn/20200819/113511.html )