จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๙๖ ความมั่นคงทางทะเลจีน-อาเซียน

ข้อพิจารณาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ จากความสำคัญของทะเลจีนใต้ที่เป็นอนุภูมิภาคของประเทศฝั่งทะเลแห่งนี้ ที่มีประชากรรวมกันราว ๒๗๐ล้านคน หรือร้อยละ๕ ของประชากรโลก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารโปรตีน รวมทั้งน้ำมันและก๊าซ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญ

     สำหรับหลักการความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคนี้ โดยทั้งจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยอยู่บนหลักการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ประการและสามารถนำมาใช้เป็นหลักการในความร่วมมือด้านความมั่นคงต่อกันโดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเลกล่าวคือ

     . การเคารพซึ่งกันและกัน (Mutual Trust)

     . การยอมรับในผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Recognition of Interests)

     . ความเชื่อมั่นร่วมกันและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Trust and Mutual Benefit)

     . การเจรจาต่อรองอย่างเท่าเทียมกัน (Equal negotiation) และการประสานงานร่วมกัน (Equal coordination)

     . ประสิทธิผล (Effectiveness) อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

     . ความก้าวหน้าอย่างราบรื่น (Steady Advancement) มีความรับผิดชอบและประนีประนอมต่อกัน

     ส่วนรูปแบบความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคนี้

    . การเจรจาต่อรองความมั่นคงทางทะเล

    . การปรึกษาหารือเรื่องความปลอดภัยในการขนถ่ายสินค้า

    . ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในทะเล

     . การค้นหาและช่วยชีวิตในทะเล

     . การสร้างช่องทางการสื่อสารทางทะเลของฝ่ายทหาร

     . การป้องกันสภาพแวดล้อมในทะเล

     . การร่วมกันในการบังคับตามกฎหมายต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ

     . การฝึกปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน

     . ปฏิบัติการรักษาสันติภาพและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของภูมิภาค

     ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ควรดำเนินการดังนี้

    . ให้ทุกฝ่ายยุติการสำรวจน้ำมันและก๊าซในพื้นที่ที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกัน รวมทั้งบริเวณเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล

    . ควรเจรจาเรื่องทะเลอาณาเขต จุด รูปตัวยูของจีน กับแนวเขตเศรษฐกิจจำเพาะ๒๐๐ ไมล์ทะเล ของประเทศที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน

    . จีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน ควรยืนยันเส้นทางเดินเรือในทะเลและเส้นทางบินผ่านในบริเวณทะเลจีนใต้ร่วมกันให้ชัดเจน

    . เรียกร้องให้ประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ลงนามใน SEANFWZ ของอาเซียน เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นเขตที่ปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์

    . ควรดำเนินการในการร่างแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในทะเลจีนใต้ หรือ COC  โดยทุกฝ่ายพิจารณาร่วมกันตั้งแต่ต้น

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

(ข้อมูลจากรายงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ศิริไกร ในหนังสือของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. ๒๕๕๘. การวิเคราะห์จุดจุดแข็งและจุดอ่อนของแผนงาน การจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASPC Blueprint) ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้า ๑๔๒๑๕๗และ หน้า ๓๒๕๓๒๖. รวมทั้งหนังสือของ เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์. ๒๕๕๙. อาเซียนจีนทั้งปีนเกลียว ทั้งเกี่ยวก้อย. กรุงเทพฯ : แสงดาว, หน้า ๑๐๘๑๐๙ และหน้า ๓๓๐๓๗๖.)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า