จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๐๘ แนวคิดของจีนในการสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่สำหรับกรอบความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง (ระหว่างจีน เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย)

ประการแรก ต้องยึดมั่นในเจตนารมณ์ของการเป็นหุ้นส่วนและแสวงหาการพัฒนาร่วมกัน โดยจีนและประเทศในลุ่มน้ำโขงเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ จึงควรเป็นพันธมิตรที่ดีสำหรับความร่วมมือโดยต้องเพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันในเชิงยุทธศาสตร์ การวางแนวทางการพัฒนา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการปกครองและการบริหารให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และส่งเสริมการสร้างประชาคมแห่งอนาคตร่วมกันสำหรับประเทศในกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขง

     ประการที่สอง ต้องยืนหยัดในการเชื่อมโยงและการจัดหาเงินทุนเพื่อสร้างกลไกการพัฒนาโดยให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับการสร้างสะพานการพัฒนาเศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำล้านช้างแม่โขง และส่งเสริมการพัฒนาเชิงลึกของการร่วมสร้างสรรค์หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (一带一路”) หรือ ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI)

     ประการที่สาม ต้องยึดมั่นในนวัตกรรมและเป็นผู้นำในการกระตุ้นแนวโน้มในการพัฒนาโดยจีนยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ และอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนกับประเทศลุ่มน้ำโขง เพื่อเร่งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

     ประการที่สี่ ต้องยึดมั่นในการดำรงชีวิตของประชาชนและวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนา เสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุข เช่น วัคซีน เพิ่มความลึกแหล่งน้ำ การปกป้องสิ่งแวดล้อม การลดความยากจน และโครงการอื่น รวมทั้งขยายความร่วมมือด้านการศึกษาด้านการท่องเที่ยว ด้านเยาวชนและในสาขาอื่น

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจากเว็บไซต์https://www.mfa.gov.cn/wjdt_674879/wjbxw_674885/202104/t20210413_9176754.shtml )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า