จีนศึกษา

จีนศึกษา ๓๐๑ การพัฒนาหุ่นยนต์ของมหาอำนาจโลก

ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองชั้นนำของอังกฤษได้วิเคราะห์ถึงพัฒนาการหุ่นยนต์สำหรับกองทัพสหรัฐฯ และกองทัพจีน โดยอ้างว่ากองทัพสหรัฐฯ จะมีทหารหุ่นยนต์ในสนามรบมากกว่าทหารจริงภายในปี 2025 (..2568) ซึ่งบ่งชี้ว่าหุ่นยนต์ต่อสู้ที่อันตรายกำลังจะกลายเป็นความจริงอย่างรวดเร็วของสงครามสมัยใหม่ สหรัฐฯ กำลังมองหาความได้เปรียบทางทหารเหนือประเทศอื่นๆ เช่น จีนและรัสเซียในอีก 10-15 ปีข้างหน้า และด้วยเหตุนี้จึงมีความพยายามลงทุนในการวิจัยและพัฒนาระบบหุ่นยนต์ เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถในการทหารและเพิ่มประสิทธิภาพทีมในสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยหุ่นยนต์ยอดนิยมบางตัวที่ได้ใช้ในกองทัพสหรัฐฯ อาทิ MAARS (Modular Advanced Armed Robotic System) ที่จะช่วยให้ผู้ควบคุมสามารถติดตั้งอาวุธได้หลากหลาย ตั้งแต่เลเซอร์ไปจนถึงแก๊สน้ำตา และ Gladiator ที่จะช่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในปฏิบัติการต่างๆ โดยสามารถติดตั้งเครื่องมือและอาวุธยุทโธปกรณ์แบบต่าง ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และวิ่งด้วยความเร็ว 10 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นต้น

     ในขณะที่กองทัพจีนกำลังพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการเฝ้าระวังและการทหาร โดยมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในการประกอบอาวุธระเบิดประเภทต่าง ซึ่งนอกเหนือจากการเร่งกระบวนการแล้ว หุ่นยนต์เหล่านี้ยังรับประกันความปลอดภัยอีกด้วย โดยเฉพาะการผลิตอาวุธที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น ขีปนาวุธนำวิถี การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอัจฉริยะในโรงงานกระสุนปืนได้ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 200% รวมถึง Anbot ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defense University) ของจีน เป็นหุ่นยนต์ตำรวจติดอาวุธที่สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดถึง 11 ไมล์ต่อชั่วโมง และได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อลาดตระเวนในพื้นที่อันตราย รวมทั้งสามารถปรับใช้เครื่องมือควบคุมจลาจลที่มีประจุไฟฟ้า

     ทั้งนี้ จีนได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตัดสินใจในสนามรบ โดยจีนได้เลือกผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ 120 คนมาทำงานในสถาบันวิจัยที่ผลักดันการพัฒนา AI เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร ซึ่งนอกเหนือจาก AI และวิทยาการหุ่นยนต์แล้ว กองทัพจีนกำลังมองหาแนวทางที่จะก้าวไปสู่เทคโนโลยีควอนตัม เพื่อพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ซับซ้อนและสามารถทำทุกอย่างได้ตั้งแต่การติดตามเครื่องบินทหารไปจนถึงถอดรหัสรหัสศัตรูที่เข้ารหัส โดยหนึ่งในการพัฒนาดังกล่าวคือ เครื่องบินรบดวงตาในท้องฟ้าแห่งอนาคตที่สามารถตรวจจับยานพาหนะล่องหนได้

สรุปโดย พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://analyticsindiamag.com/us-chinas-military-future-robots-india-competing/ )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า