จีนศึกษา๙๒ “ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก”ของสหรัฐฯ
”ยุทธศาสตร์อินโด–แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ (美国的“印太战略”) ซึ่งศาสตราจารย์ หยาง เป่าหยุน (杨保筠) แห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหวาของจีนเมื่อเร็วๆ นี้ สรุปได้ว่า
๑. “ยุทธศาสตร์อินโด–แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในรูปแบบของกลุ่มและพันธมิตรโดยภาพรวม โดยเป็นเพียงผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ซึ่งไม่เอื้อต่อเสถียรภาพและการพัฒนาของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมทั้งจะทำลายผลประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคด้วย
๒. จากมุมมองของการเมืองและความมั่นคง “ยุทธศาสตร์อินโด–แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสถานการณ์ใหม่ที่สร้างความแตกต่างอย่างมากระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาค บางประเทศต้องเลือกข้างภายใต้แรงกดดันจากความต้องการเชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำลายพลังความเคลื่อนไหวดั้งเดิมของการรักษาความมั่นคงและการพัฒนาในภูมิภาคผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาค
๓. จากมุมมองทางเศรษฐกิจ “ยุทธศาสตร์อินโด–แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ อาจมีผลกระทบต่อสถานการณ์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนอกจากนี้ การปฏิบัติตามแนวความคิดใน “ยุทธศาสตร์อินโด–แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ จะทำให้นำไปสู่ความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค
๔. “ยุทธศาสตร์อินโด–แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ เป็นการออกแบบเชิงยุทธศาสตร์ที่มุ่งเป้าไปที่ประเทศจีน ซึ่งก็คือการสร้างสภาพแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในการยับยั้งจีนและรักษาอำนาจของสหรัฐฯ และเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ซึ่งไม่เอื้อต่อความมั่นคงและการพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก รวมทั้งจะทำลายผลประโยชน์พื้นฐานของประเทศในภูมิภาคด้วย
๕. ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนเป็นเหตุการณ์ระดับนานาชาติที่สำคัญ โดยส่งผลกระทบแพร่กระจายไปยังภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสหรัฐฯ ต้องรับผิดชอบต่อสาเหตุและพัฒนาการของความขัดแย้งดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิกยังมีอันตรายที่ซ่อนอยู่มากและอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ทั้งนี้สหรัฐฯ มักใช้ปัจจัยเหล่านี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาค ภายใต้การยุยงของสหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาค ดังนั้น หากปัญหาในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิกไม่สามารถจัดการได้อย่างถูกต้องและอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่
๖. ประเทศในเอเชีย–แปซิฟิก ควรมีความมุ่งมั่นในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันอย่างเข้มแข็ง แม้ว่าจะมีความขัดแย้งและปัญหาก็ควรแก้ไขด้วยการเจรจาตามกฎบัตรสหประชาชาติรวมทั้งบรรทัดฐานของกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค โดยจะต้องระมัดระวังและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่เกิดการยั่วยุจากภายนอก
๗. ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก รวมทั้งสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อน ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิกควรรักษาแนวโน้มที่ดีในการแสวงหาการพัฒนาผ่านความร่วมมือโดยใช้ประโยชน์จากบทบาทของกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาอย่างสันติ การแก้ไขข้อขัดแย้ง และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ตลอดจนปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://world.people.com.cn/n1/2022/0322/c1002-32380973.html )