ภูมิภาค

อุบลฯ เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565

มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตาม  13 มาตรการรับมือฤดูฝน  และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

วันที่ 15 มิ..2565 ที่ ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี  นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี  พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี2565 ผ่านระบบ Zoom meeting ทั้ง 25 อำเภอ

ที่ประชุมฯ มีการสรุปภาพรวมการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี2565 โดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2565 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที และเป็นการบูรณาการสรรพกำลังหน่วยงานหลัก หน่วยงานสนับสนุนในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างเป็นระบบ ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี

ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนเผชิญเหตุ 13 มาตรการรับมือฤดูฝน  เพื่อเสนอให้  สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี  รวบรวมและจัดแผนเผชิญเหตุระดับจังหวัด

สำหรับ13 มาตรการรับมือฤดูฝน  ประกอบด้วย มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ (เดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นไป)  โดยประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในช่วงเดือนมีนาคมธันวาคม 2565 และ ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนน้อยกว่าค่าปกติ และฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนกรกฎาคม 2565 เพื่อให้หน่วยงานนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการในเชิงป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง

มาตรการที่ 2 การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก (ภายในเดือนสิงหาคม2565)  โดยจัดทำแผนการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิงเพื่อรองรับน้ำหลากและเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ1ในช่วงฤดูน้ำหลาก บริหารจัดการเพื่อป้องกันและบรรเทาระดับความรุนแรงของน้ำท่วม รวมถึงจัดทำแผนเก็บกักน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน เช่น พื้นที่ทุ่งบางระกำ และพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองและการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหาย

มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่กลาง และเขื่อนระบายน้ำ (ภายในเดือนเมษายน 2565)  ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่กลางเพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเกณฑ์ควบคุม  จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่กลาง ในช่วงภาวะวิกฤติ

มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565) ตรวจสอบสภาพความมั่นคงและซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำอาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำ

มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565)  สำรวจและจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และการปรับปรุงคูคลองเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565)  จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักร เครื่องมือ/สารชีวภัณฑ์ ในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช และดำเนินการขุดลอกคูคลอง  ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนในชุมชนช่วยกันจัดเก็บหรือกำจัดผักตบชวา

มาตรการที่ 7 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565)  เตรียมความพร้อมแผนป้องกัน  แผนเผชิญเหตุความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องจักร  พร้อมใช้งานเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม ฝนน้อยกว่าค่าปกติ ฝนทิ้งช่วง สำหรับให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฝนทิ้งช่วง

มาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน)  วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ลดการสูญเสียน้ำโดยการปรับปรุงวิธีการส่งน้ำและซ่อมแซมระบบการส่งน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

มาตรการที่ 9 ตรวจความมั่นคงและปลอดภัยคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน) ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงของคันกั้นน้ำ ทำนบ และพนังกั้นน้ำ และซ่อมแซม/ปรับปรุงให้มีสภาพดี

มาตรการที่ 10 จัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ (ภายในเดือนพฤษภาคม2565) จัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับต่าง อย่างน้อยภาคละ 1 พื้นที่

มาตรการที่ 11 ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)

มาตรการที่ 12 การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ (ก่อนฤดูฝนตลอดช่วงฤดูฝน)  สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เครือข่ายต่าง และประชาชน

มาตรการที่ 13 ติดตาม ประเมินผล และปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)

ทั้งนี้จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมขอให้ทุกอำเภอดำเนินการขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืชเพื่อให้การระบายน้ำได้ดีขึ้น และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังติดตาม จัดทำแผนเผชิญเหตุ เตรียมการระบายน้ำ การแจ้งเตือน หรือ เมื่อเกิดเหตุที่อาจจะเกิดอุทกภัยได้ ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สุมาลี สมเสนาะ ศรีสมร บุญวิจิตร

ชัยวัฒน์ บุญชวลิต/ข่าวภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า