จีนศึกษา

จีนศึกษา ๓๕๖ มหานครเซี่ยงไฮ้

ข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนการปฏิรูปและการเปิดประเทศ ในการพัฒนาพื้นที่ผู่ตงเมื่อ ๓๒ ปีก่อน จนทำให้กลายเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนความเจริญของมหานครเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน กล่าวคือ

     มหานครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีสภาพเป็นเมืองที่แยกเป็นฝั่งตะวันตกและตะวันออก ตามความคดเคี้ยวของสองฝั่งแม่น้ำหวงผู่ โดยเรียกฝั่งตะวันตกของแม่น้ำหวงผู่ว่า ผู่ซี (ผู่ตะวันตก) และผู่ตง (ผู่ตะวันออก) ซึ่งมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในสภาพความเจริญทำให้ชาวเมืองผู่ตงที่อยู่บนฝั่งผู่ตงได้แต่มองเห็นความเจริญของฝั่งผู่ซี ที่มีประวัติการพัฒนายาวนาน ยามค่ำคืนแสงไฟสว่างไสว รถราบนถนนคึกคัก ตรงกันข้ามกับฝั่งผู่ตงที่ยามค่ำมีเพียงความมืด เส้นทางถนนเต็มไปด้วยดินโคลน โดยในเวลานั้นหากมองจากเดอะบันด์ บนฝั่งผู่ซี จะเห็นผู่ตงเป็นทุ่งเวิ้งว้างและรกร้าง สลับกับมีกลุ่มบ้านเรือนเตี้ย อีกทั้งมีเพียงเรือข้ามฟากเชื่อมโยงไปมาสองฝั่งเท่านั้น แต่ทุกสิ่งเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๘ เม..๓๓ เมื่อผู่ตงได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปและการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และคณะรัฐมนตรีจีนได้ตัดสินใจที่จะพัฒนาพื้นที่ผู่ตงเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและตั้งชื่อว่าเขตผู่ตงใหม่

     สำหรับขั้นตอนในการพัฒนาพื้นที่ผู่ตง เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ ..๓๓ ได้แก่

      . การผลิกฟื้นพื้นที่การพัฒนา ด้วยการตั้งสำนักงานพัฒนา โดยได้ใช้โกดังสินค้าร้าง นำมาปรับปรุงเป็นสำนักงานพัฒนาเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ และสถาบันวิจัยและการออกแบบการวางแผนพัฒนาผู่ตง เซี่ยงไฮ้ ได้ออกแบบอาคารสำนักงาน เป็นอาคารแบบสองชั้น ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๔๑ บนถนนผู่ตง สำหรับอาคารชั้นแรกซึ่งเคยเป็นคลังสินค้าได้ปรับปรุงกลายเป็นล็อบบี้และห้องประชุม ในขณะที่สำนักงานจะอยู่บนชั้นสอง ซึ่งมีโต๊ะทำงานเพียง โต๊ะ และเก้าอี้ ตัว ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่มีโต๊ะทำงานส่วนตัว ต้องแบ่งกันใช้ร่วมกัน และแต่ละคนก็มีลิ้นชักเพียงหนึ่งช่องเท่านั้น

      . การปรับปรุงถนนดินโคลน กระท่อมและโครงสร้างที่ผิดกฎหมาย โดยการรื้อสร้างใหม่ เพื่อกำหนดพื้นที่เป็นศูนย์กลางการเงินและการค้าเสรี (Lujiazui Financial and Trade Zone) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงช่วงข้ามคืน โดยมีตึกระฟ้ามากมายผุดขึ้น เส้นทางดินโคลนถูกเปลี่ยนไปเป็นถนนแห่งความรุ่งเรือง (Silver City Middle Road)

     ทั้งนี้ การพัฒนาผู่ตง โดยแบ่งออกเป็น ช่วงเวลา ซึ่งแต่ช่วงละมีระยะเวลา ๑๐ ปี

     ช่วงแรก ระหว่างปี ..๒๕๓๓๒๕๔๔  เป็นช่วงการพัฒนาที่รวดเร็ว โดยมีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก และมีนโยบายพิเศษจากรัฐบาลกลาง

     ช่วงที่สอง ระหว่างปีพ..๒๕๔๔ ถึง ..๒๕๕๕ คือขั้นตอนการปฏิรูปที่ครอบคลุมนำร่องในการสร้างและปรับปรุงระบบเศรษฐกิจการตลาดเชิงสังคมนิยมให้สอดคล้องกับแนวทางสากล

     ช่วงที่สาม ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ..๒๕๕๕ และยังคงดำเนินต่อไปในปัจจุบัน คือขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีชั้นนำของประเทศจีน (FTZ) ซึ่งจะช่วยยกระดับนวัตกรรมขั้นสูงและการพัฒนาในทิศทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     อาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ผู่ตงนี้ เปรียบเหมือนกับความฝัน ในขณะที่คนรุ่นปู่มองเห็นเป็นพื้นที่สงคราม ส่วนคนรุ่นพ่อมองเห็นเป็นพื้นที่การบุกเบิก แต่สำหรับคนรุ่นนี้ได้มองเห็นเป็นพื้นที่ของความมั่งคั่ง สมดังคำกล่าวที่ว่าเมื่ออิ่มท้องย่อมได้เวลาสร้างความอุดมในทุกด้านโดยเฉพาะความสำเร็จในการพัฒนาบทบาทของการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.fsmitha.com/h2/ch32prc.html และเว็บไซต์https://ageconsearch.umn.edu/bitstream/90620/2/WP%2051.pdf )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า