จีนศึกษา ๓๐๗ จีนรูปแบบการพัฒนาใหม่ที่มี”วัฏจักรคู่”
ข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาใหม่ของจีน กับมาตรการเพื่อการรักษาเสถียรภาพการค้าต่างประเทศขั้นพื้นฐานและการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีวัฏจักรคู่(“双循环” ทั้งวัฏจักรภายในประเทศและต่างประเทศ) เป็นตัวหลัก
ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของจีนได้เร่งการเปลี่ยนจากที่เน้นการส่งออกเป็นการขับเคลื่อนอุปสงค์ภายในประเทศ เพื่อยึด “วงใน“ เนื่องจากจีนมีข้อได้เปรียบด้านอุปสงค์ภายในประเทศอย่างมาก กล่าวคือ (๑) ด้วยประชากร ๑.๔ พันล้านคน และเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางที่ใหญ่ที่สุดในโลก (๒) การบริโภคกลายเป็นแรงผลักดันแรกของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (๓) โดยเมื่อปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภครวมเกิน ๔๐ ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรก และ (๔) ในปี ๒๐๑๙(พ.ศ.๒๕๖๒) รายได้ประชาชาติต่อหัวของตนจีนเกิน ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรก ฯลฯ ซึ่งเมื่อเผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด รัฐบาลจีนได้ใช้มาตรการที่แม่นยำเพื่อรักษาเสถียรภาพของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้วย“เสถียรภาพ ๖ ข้อ” และ “การค้ำประกัน ๖ ข้อ” เพื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและการฟื้นตัวของการบริโภค โดยดำเนินการเชื่อมโยงตลาดในประเทศและต่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น จากการสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่ที่มีวัฏจักรคู่ (ภายในและต่างประเทศ) ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” (“一带一路” / Belt and Road Initiative: BRI) จึงเป็นเวทีสำคัญสำหรับความร่วมมือ
โดยเมื่อพิจารณาจากกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาใหม่ของจีน โดยจะก่อให้เกิดวัฏจักรการไหลเวียนทั้งภายในและภายนอกได้ดีขึ้น หากเน้นส่งเสริมการแบ่งปันแบบ win-win ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงได้ออกมาตรการ ๑๕ประการ เพื่อรักษาเสถียรภาพการค้าต่างประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศและการสร้างเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานห่วงโซ่อุตสาหกรรม อาทิ (๑) การมีบทบาทในการประกันสินเชื่อการส่งออกที่ดีขึ้น (๒) การป้องกันความเสี่ยงจากการยกเลิกคำสั่งซื้อก่อน (๓) การสนับสนุนสถานที่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการจำลองหรือขยายรูปแบบการจัดหาเงินทุน “ประกันสินเชื่อ + การรับประกัน” (๔) การให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อสำหรับการจัดหาเงินทุนแก่วิสาหกิจการค้าต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ (๕) การขยายสินเชื่อเพื่อการส่งออกไปยังวิสาหกิจการค้าต่างประเทศขนาดกลางและขนาดเล็ก (๖) การให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทต่างประเทศที่สำคัญ และ (๗) โควต้าการให้สินเชื่อใหม่และการลดราคาพิเศษนั้นสามารถใช้ได้กับวิสาหกิจที่ได้รับทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น
สำหรับผลจากการออกมาตรการ ๑๕ ประการของจีน จะช่วยรักษาเสถียรภาพการค้าต่างประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศใน ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การปรับปรุงนโยบายการคลังภาษีอากรและการเงิน (๒) การพัฒนารูปแบบและรูปแบบการค้าใหม่ (๓) การปรับปรุงพิธีการศุลกากร และ (๔) การอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนบุคลากรสนับสนุนอุตสาหกรรมหลักและองค์กรหลัก อันทำให้สามารถเชื่อมโยงตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น เพื่อมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาที่มีคุณภาพสูง โดยการสร้าง “รูปแบบการพัฒนาใหม่” ที่มี “วัฏจักรคู่” ส่งเสริมซึ่งกันและกันดังกล่าว
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com/world/2020-08/14/c_1210751982.htm และเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com/2020-08/14/c_1126365566.htm รวมทั้งเว็บไซต์https://www.sohu.com/a/413033309_115239 และเว็บไซต์https://5g.zgm.cn/content/5f36763b36d44 )