จีนศึกษา ๒๙๙ จุดยืนของจีนในทะเลจีนใต้
นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ชี้แจงขณะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งที่๑๑ ซึ่งเป็นการประชุมผ่านระบบทางไกล เมื่อปีที่ผ่านมา (วันที่ ๔ ส.ค.๖๔) โดยหวังว่าทุกฝ่ายจะบรรลุ “การเคารพใน ๔ ประการ” เกี่ยวกับประเด็นทะเลจีนใต้และเรียกร้องให้กองกำลังนอกภูมิภาคอย่าได้เข้ามาก้าวก่ายเรื่องทะเลจีนใต้ กล่าวคือ
๑. การเคารพความเป็นจริง จีนเป็นประเทศแรกที่ค้นพบ ตั้งชื่อ และพัฒนาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ รวมถึงน่านน้ำที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังเป็นผู้แรกสุดที่ปกครองอย่างยั่งยืน สันติและมีประสิทธิภาพ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลจีนได้เกาะในทะเลจีนใต้ที่ญี่ปุ่นยึดครองโดยผิดกฎหมายกลับคืนตาม “ปฏิญญาไคโร“ (“Cairo Declaration”) และ “คำประกาศพ็อทซ์ดัม“ (“Potsdam Proclamation”) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระเบียบระหว่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในช่วงปี ๑๙๕๐ – ๑๙๖๐ (พ.ศ.๒๔๙๓ – ๒๕๐๓) สหรัฐฯ ได้ยื่นคำร้องต่อจีนเพื่อสำรวจหมู่เกาะในทะเลจีนใต้หลายครั้ง รวมทั้งแผนที่อย่างเป็นทางการที่เผยแพร่โดยญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ยังระบุว่าหมู่เกาะในทะเลจีนใต้เป็นส่วนหนึ่งของจีนด้วย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้และปฏิเสธไม่ได้
๒. การเคารพกฎหมาย ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจีนเป็นผู้ถือครองอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้และย่อมถือครองสิทธิประโยชน์ทางทะเลที่เกี่ยวข้อง
๓. การเคารพฉันทามติ แน่วแน่ในการยุติข้อพิพาทด้วยการเจรจาอย่างสันติระหว่างประเทศคู่กรณีโดยตรง ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาร่วมกันของจีนกับทุกประเทศอาเซียนตามที่ได้ระบุไว้ใน “ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้” (“Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea”) ซึ่งทุกฝ่ายควรนำไปปฏิบัติตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่กระทำการฝ่ายเดียวที่เพิ่มความขัดแย้งและขยายขอบเขตหรือใช้กำลังคุกคาม
๔. การเคารพประเทศในภูมิภาค ภายใต้ความพยามยามร่วมกันของจีนกับประเทศในอาเซียน ภาพรวมสถานการณ์ในทะเลจีนใต้มีแนวโน้มมั่นคง ส่วนเสรีภาพในการเดินเรือและการบินก็ไม่เคยเกิดปัญหาแต่อย่างใด
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์https://www.mfa.gov.cn/nanhai/chn/wjbxw/202108/t20210805_9071832.htm )