จีนศึกษา๑๙๖ ความมั่นคงทางทะเลจีน-อาเซียน
ข้อพิจารณาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ จากความสำคัญของทะเลจีนใต้ที่เป็นอนุภูมิภาคของประเทศฝั่งทะเลแห่งนี้ ที่มีประชากรรวมกันราว ๒๗๐ล้านคน หรือร้อยละ๕ ของประชากรโลก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารโปรตีน รวมทั้งน้ำมันและก๊าซ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญ
สำหรับหลักการความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคนี้ โดยทั้งจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยอยู่บนหลักการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ๕ ประการและสามารถนำมาใช้เป็นหลักการในความร่วมมือด้านความมั่นคงต่อกันโดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเลกล่าวคือ
๑. การเคารพซึ่งกันและกัน (Mutual Trust)
๒. การยอมรับในผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Recognition of Interests)
๓. ความเชื่อมั่นร่วมกันและการมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Trust and Mutual Benefit)
๔. การเจรจาต่อรองอย่างเท่าเทียมกัน (Equal negotiation) และการประสานงานร่วมกัน (Equal coordination)
๕. ประสิทธิผล (Effectiveness) อันเป็นผลมาจากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
๖. ความก้าวหน้าอย่างราบรื่น (Steady Advancement) มีความรับผิดชอบและประนีประนอมต่อกัน
ส่วนรูปแบบความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคนี้
๑. การเจรจาต่อรองความมั่นคงทางทะเล
๒. การปรึกษาหารือเรื่องความปลอดภัยในการขนถ่ายสินค้า
๓. ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในทะเล
๔. การค้นหาและช่วยชีวิตในทะเล
๕. การสร้างช่องทางการสื่อสารทางทะเลของฝ่ายทหาร
๖. การป้องกันสภาพแวดล้อมในทะเล
๗. การร่วมกันในการบังคับตามกฎหมายต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
๘. การฝึกปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน
๙. ปฏิบัติการรักษาสันติภาพและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของภูมิภาค
ทั้งนี้ แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ควรดำเนินการดังนี้
๑. ให้ทุกฝ่ายยุติการสำรวจน้ำมันและก๊าซในพื้นที่ที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกัน รวมทั้งบริเวณเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล
๒. ควรเจรจาเรื่องทะเลอาณาเขต ๙ จุด รูปตัวยูของจีน กับแนวเขตเศรษฐกิจจำเพาะ๒๐๐ ไมล์ทะเล ของประเทศที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน
๓. จีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน ควรยืนยันเส้นทางเดินเรือในทะเลและเส้นทางบินผ่านในบริเวณทะเลจีนใต้ร่วมกันให้ชัดเจน
๔. เรียกร้องให้ประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ลงนามใน SEANFWZ ของอาเซียน เพื่อให้ภูมิภาคนี้เป็นเขตที่ปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์
๕. ควรดำเนินการในการร่างแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในทะเลจีนใต้ หรือ COC โดยทุกฝ่ายพิจารณาร่วมกันตั้งแต่ต้น
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
(ข้อมูลจากรายงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย ศิริไกร ในหนังสือของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. ๒๕๕๘. การวิเคราะห์จุดจุดแข็งและจุดอ่อนของแผนงาน การจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASPC Blueprint) ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้า ๑๔๒ – ๑๕๗และ หน้า ๓๒๕ – ๓๒๖. รวมทั้งหนังสือของ เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์. ๒๕๕๙. อาเซียน–จีนทั้งปีนเกลียว ทั้งเกี่ยวก้อย. กรุงเทพฯ : แสงดาว, หน้า ๑๐๘ – ๑๐๙ และหน้า ๓๓๐ – ๓๗๖.)