จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๗๒ ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก

วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก (印太战略 / Indo-Pacific Strategy) จากการที่อาเซียนมีที่ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของอินโดแปซิฟิก และอาจกลายเป็นเวทีประลองกำลังระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะการที่ได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ในงานเสวนาแชงกรีล่าที่สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๑๐๑๒ มิ..๖๕ที่ผ่านมา ในขณะที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ ๑๘๑๙ ..๖๕

      ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก เป็นคำใหม่ที่เพิ่งจะถูกใช้ในราว ๑๐๒๐ ปีมานี้ โดย Gurpreet S Khurana นักยุทธศาสตร์และผู้อำนวยการบริหารสถาบัน New Delhi National Maritime Foundation แห่งประเทศอินเดียที่เห็นว่าหลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนในปลายทศวรรษ๑๙๗๐ สหรัฐฯ ก็ต้องการทำนโยบายที่จะขยายอิทธิพลและความร่วมมือเข้ามาในภูมิภาค ดังนั้น เมื่ออินเดียเริ่มต้นการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ ยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจก็ได้ให้ความสนใจกับอินโดแปซิฟิกมากยิ่งขึ้น

      สำหรับการปฏิรูปของจีนตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๗๐ ภายใต้ผู้นำรุ่นที่ (เติ้ง เสี่ยวผิง) ส่งผลให้จีนเริ่มเปิดประเทศสู่ตลาดการค้าในทศวรรษ๑๙๙๐ จีนรับรู้และเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกที่สหรัฐฯ วางเกมเอาไว้ผ่านการเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ในช่วงต้นทศวรรษ๒๐๐๐ และพอถึงปลายทศวรรษ๒๐๐๐ จีนก็เริ่มถึงจุดอิ่มตัว และต้องการเครื่องมือการปฏิรูปใหม่เพื่อบรรลุความฝันของจีน (中国梦/Chinese Dream) ภายใต้การปฏิรูปเศรษฐกิจดังกล่าว จีนตั้งเป้าหมายไว้ ประการคือ

     . การลดการพึ่งพาการส่งออกและกำหนดเป้าหมายให้มากกว่า๖๐% ของผลผลิต ที่ผลผลิตในจีน(GDP) ต้องถูกบริโภคภายในประเทศโดยต้องทำให้คนจีนรวยขึ้นและการบริโภคของจีน ภายใต้นโยบายMade in China 2025 (中国制造2025) เพื่อให้สินค้าจีนกลายเป็นสินค้าคุณภาพสูงภายในปี ๒๐๒๕ผ่านการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ

     . จีนต้องหาคู่ค้าใหม่ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง ไม่พึ่งพาแต่เฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้เกิดการเชื่อมโยงภายใต้ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road: OBOR หรือ 一带一路) ซึ่งต่อมาในภายหลังชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษได้ถูกเรียกใหม่ว่า ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) ในขณะที่ชื่อในภาษาจีนยังคงใช้คำเดิมคือ一带一路

     ทั้งนี้ BRI ได้เชื่อมโยงเส้นทางการค้าจากจีนสู่คู่ค้าใหม่ ตลาดกระจายสินค้าใหม่ และแหล่งทรัพยากรใหม่ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรปรวมทั้งเชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจากเว็บไซต์https://fddi.fudan.edu.cn/e0/9b/c21253a450715/page.htm )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า