จีนศึกษา๑๖๓ ประชุมสุดยอดองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SCO) ครั้งที่ ๑๙
ข้อพิจารณาต่อการพัฒนาผลประโยชน์ร่วมกันจากความสำคัญของภูมิภาคเอเชียกลาง โดยเฉพาะการเดินทางไปเยือนของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๖ มิ.ย.๖๒ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ หรือ SCO ครั้งที่ ๑๙ ที่สาธารณรัฐคีร์กีซและเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำของการประชุมมาตรการประสานงานและสร้างความมั่นใจในเอเชีย หรือ CICA ที่สาธารณรัฐทาจิกิสถาน
SCO ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ที่นครเซี่ยงไฮ้ โดยผู้นำจีน คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซรัสเซีย ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ซึ่งพัฒนามาจาก Shanghai Five เดิม ๕ ประเทศ ยกเว้นอุซเบกิสถาน ที่ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนของประเทศสมาชิก ต่อมาเมื่ออุซเบกิสถานเข้าร่วมในปีพ.ศ.๒๕๔๔ จึงได้เปลี่ยนชื่อองค์การมาเป็นดังในปัจจุบัน และขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจการค้า วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษาพลังงาน การคมนาคม และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๐ SCO ได้รับอินเดียและปากีสถานเป็นประเทศสมาชิก
CICA ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียมีสมาชิก ๒๗ ประเทศ (สมาชิกต้องมีดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งในเอเชีย) ได้แก่ อัฟกานิสถาน อาเซอร์ไบจาน บาห์เรน บังกลาเทศ กัมพูชา จีน อียิปต์ อินเดีย อิหร่าน อิรัก อิสราเอล จอร์แดน คาซัคสถาน สาธารณรัฐคีร์กีซ มองโกเลีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ เกาหลีใต้ รัสเซีย ทาจิกิสถาน ไทย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อุซเบกิสถาน เวียดนาม และศรีลังกา ทั้งนี้ ไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ ๑๗ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗
ภูมิภาคเอเชียกลาง ประกอบด้วยดินแดน ๒ ส่วน โดยมีทะเลสาบแคสเปียนคั่นอยู่ คือ ดินแดนด้านตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียน ได้แก่ คาซัคสถาน คีร์กีซ เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน กับดินแดนทางด้านตะวันตกของทะเลสาบแคสเปียน ได้แก่ จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน ทั้งนี้ เอเชียกลางมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งทางด้านพลังงาน และผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยคาซัคสถาน กับเติร์กเมนิสถาน คือผู้ส่งออกรายใหญ่ในด้านน้ำมันและก๊าซ ขณะที่คีร์กีซสถาน และ ทาจิกิสถาน มีปริมาณน้ำสำรองมากมายมหาศาล จึงมีศักยภาพมากที่สุดในด้านการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ นอกจากนี้ ยังมีสินแร่ที่ยังไม่ถูกขุดค้นขึ้นมาทำประโยชน์อยู่เป็นจำนวนมากในอัฟกานิสถาน อาทิ เหล็ก ทองแดง โคบอลต์ และลิเธียม ฯลฯขณะที่คาซัคสถานก็มีสินแร่สำรองอยู่มากเช่นกัน สำหรับคีร์กิซสถานในเวลานี้ก็สามารถส่งออกทองเป็นปริมาณสูง ส่วนทาจิกิสถานก็มีศักยภาพที่จะทำการผลิตและส่งออกอลูมิเนียม
ดังนั้น จากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียกลาง ซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเส้นทางสายไหมทางบก ภายใต้ข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) ดังที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เสนอเมื่อปลายปี ๒๐๑๓ (พ.ศ.๒๕๕๖) ขณะเดินทางเยือนประเทศคาซัคสถาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเพิ่มเส้นทาง การค้าเชื่อมโดยตรงระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรปโดยผ่านพื้นที่เอเชียกลาง
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2019-06/16/content_5400844.htm )