จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๔๐ “ฉันทามติปักกิ่งเกี่ยวกับ AI และการศึกษา”

ข้อพิจารณาในการพัฒนา AI (Artificial Intelligence) สำหรับประเทศไทย จากฉันทามติปักกิ่งเกี่ยวกับ AI และการศึกษา” (Beijing Consensus on AI and Education) อันเป็นผลมาจากการประชุมว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษาระหว่างประเทศ โดยจีนกับยูเนสโก (UNESCO) ร่วมกันจัดขึ้น ภายใต้หัวข้อวางแผนการศึกษายุคปัญญาประดิษฐ์ : การนำร่องกับการก้าวข้ามระหว่างวันที่ ๑๖๑๘ ..๖๒ ที่กรุงปักกิ่ง โดยได้นำเสนอให้ประเทศต่างๆ กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดัน AI กับการศึกษา มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้กลมกลืนกันเป็นระบบ การสร้างระบบการศึกษาที่มีความเปิดเผยและยืดหยุ่นด้วย AI การส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตอย่างเที่ยงธรรมและมีคุณภาพ นอกจากนี้ เอกสารยังเสนอให้สนับสนุนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา AI เพื่อสร้างประชาคมโลกที่มีค่านิยมเดียวกันในด้าน AI และการศึกษา

     นอกจากจะมีการเสนอข้อริเริ่มต่อประชาคมโลกในการส่งเสริมและสร้างสรรค์การศึกษาในยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตลอดจนร่วมเดินหน้าสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติแล้ว ยังได้หารือถึงการหลอมรวมระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ากับการศึกษา ซึ่งถือเป็นโอกาสและความท้ายทายร่วมกันที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ โดยจีนได้แสดงท่าทีว่า จะเพิ่มความร่วมมือกับทุกประเทศ เพื่อทำให้ระบบ AI กับการศึกษาหลอมรวมกันอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งร่วมกันอบรมบุคลากรชั้นสูงด้าน AI และแบ่งปันผลการพัฒนา AI และการศึกษากับทุกประเทศ

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.isail.in/post/the-beijing-consensus-on-ai-and-education-and-niti-aayog-s-response และเว็บไซต์  https://en.unesco.org/news/international-conference-artificial-intelligence-and-education-opens-beijing รวมถึงเว็บไซต์ https://en.unesco.org/themes/ict-education/ai-education-conference-2019 )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า