จีนศึกษา๑๒๒ การสำรวจยอดเขาเอเวอเรสต์
นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดตัว “ภารกิจสูงสุด“ (“巅峰使命”) ซึ่งเป็นการสำรวจยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest / 珠穆朗玛峰) ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๘ เม.ย.๖๕ โดยมีทีมสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ๕ ทีม จำนวน ๑๖ กลุ่ม และมีสมาชิกมากกว่า ๒๗๐ คน กล่าวคือ
การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้มีแผนในการตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติหลายสถานีที่สูงกว่า ๘,๐๐๐ เมตร เพื่อให้เกิดการสังเกตอัตโนมัติและการส่งข้อมูลการไต่ระดับของอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ระดับความสูงที่สูงมากของยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยมีแผนรวบรวมตัวอย่างหิมะ น้ำแข็ง และหินให้เสร็จสมบูรณ์จากระดับ ๕,๘๐๐ – ๘,๓๐๐ เมตร และนับเป็นครั้งแรกบนโลก โดยใช้เรดาร์ความแม่นยำสูงในการวัดความหนาของหิมะและน้ำแข็ง รวมทั้งมีการเจาะแกนน้ำแข็ง
โดยมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการสำคัญ เช่น ธารน้ำแข็ง หิมะที่ปกคลุม ดินเยือกแข็ง ทะเลสาบ และแม่น้ำ รวมทั้งสำรวจระบบโลกในทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์โดยรวมของการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ของยอดเขาเอเวอเรสต์คือ การเปิดเผยกฎของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่ระดับความสูงที่สูงมากของยอดเขาเอเวอเรสต์ ภายใต้สภาวะโลกร้อน รวมทั้งลักษณะของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก หน้าที่การกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศของระบบนิเวศ และลักษณะของการปรับตัวของมนุษย์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เพื่อที่จะบรรลุถึงความก้าวหน้าครั้งใหม่ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของโลก
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.stdaily.com/cehua/Apr29th/fmxw.shtml )