จีนศึกษา๗๑ เร่งปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัย
แนวคิดของจีนในการเร่งปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัย ได้แก่
๑. เพิ่มขีดความสามารถในการรับประกันการจัดหาธัญพืชและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ คณะกรรมการพรรคท้องถิ่นและรัฐบาลทุกระดับต้องแบกรับความรับผิดชอบทางการเมืองในด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างจริงจัง
๒. ต่อสู้กับการพลิกผันของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเมล็ดพันธุ์เป็นรากฐานสำหรับความทันสมัยทางการเกษตร โดยเพิ่มความเข้มแข็งในการป้องกันการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแหล่งเพาะพันธุ์พืชผลทางการเกษตร เร่งการสำรวจและการรวบรวมทรัพยากรพันธุ์พืช ปศุสัตว์และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ปีก รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสร้างแหล่งเพาะพันธุ์ทางชีวภาพของพืชแห่งชาติ ปศุสัตว์ สัตว์ปีกและประมงทะเล
๓. ยึดแนวสีแดงของพื้นที่เพาะปลูก ๑.๘ พันล้านหมู่ (๒.๔ หมู่เท่ากับ ๑ ไร่) โดยกำหนดขอบเขตการจัดการพื้นที่และควบคุมการใช้ที่ดินอย่างเคร่งครัด
๔. เสริมสร้างการสนับสนุนเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่และวัสดุอุปกรณ์อย่างต่อเนื่องรวมทั้งความทันสมัยของเขตชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยการปฏิรูประบบและวางแพลตฟอร์มฐานนวัตกรรม รวมทั้งเน้นการพัฒนาเชิงลึกของการดำเนินการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อฟื้นฟูชนบท
๕. การสร้างระบบอุตสาหกรรมชนบทสมัยใหม่ โดยอาศัยประโยชน์ของหมู่บ้านในการสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมการเกษตรทั้งหมด และให้เกษตรกรได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ที่มีมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมมากขึ้น
๖. ส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรสีเขียว ดำเนินโครงการปกป้องดินดำแห่งชาติและส่งเสริมรูปแบบการทำการเกษตรเชิงอนุรักษ์ ส่งเสริมการลดรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีการป้องกันการควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
๗. ส่งเสริมการสร้างระบบการจัดการการเกษตรสมัยใหม่ มุ่งเน้นไปที่หน่วยงานธุรกิจสองประเภทคือ ฟาร์มครอบครัวและสหกรณ์เกษตรกร โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบต่างๆรวมทั้งการดำเนินการตามแผนการเพาะปลูกในฟาร์มของครอบครัวเพื่อปลูกฝังครัวเรือนเกษตรขนาดใหญ่ให้เป็นฟาร์มครอบครัวที่เข้มแข็ง ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของสหกรณ์เกษตรกรและเพิ่มการสนับสนุนสหกรณ์เกษตรกรที่มีการดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน
บทสรุป ต้องสนับสนุนให้มีการสร้างศูนย์บริการครบวงจรระดับภูมิภาคสำหรับห่วงโซ่อุตสาหกรรมการเกษตรทั้งหมด การปฏิรูปความร่วมมือด้านการจัดหาและการตลาดให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะดำเนินโครงการนำร่องสำหรับความร่วมมือแบบครบวงจรด้านการผลิต การจัดหาและการตลาด รวมทั้งสินเชื่อแบบ “สามในหนึ่งเดียว” (“三位一体”) และปรับปรุงแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมเพื่อรองรับการผลิตและยกระดับชีวิตของเกษตรกร ตลอดจนการปลูกฝังเกษตรกรให้มีทักษะและคุณภาพสูง รวมถึงการดึงดูดผู้มีความสามารถจากทุกสาขาอาชีพตลอดจนผู้ประกอบการให้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูชนบทและสร้างสรรค์ทางการเกษตรสมัยใหม่
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/zhengce/2021-02/21/content_5588098.htm )