จีนศึกษา ๓๖๖ สี จิ้นผิง สร้างประเทศจีนให้เป็นนิติรัฐ
ข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวคิดของนายสี จิ้นผิง ในการสร้างประเทศจีนให้เป็นนิติรัฐกล่าวคือ
๑. รัฐธรรมนูญจีนเป็นแม่แบบกฎหมายของประเทศ บ่งบอกถึงผลการพัฒนาของวิถีทางสังคมนิยมแบบมีอัตลักษณ์จีน สะท้อนให้เห็นถึงปณิธานร่วมและผลประโยชน์หลักของทุกชนเผ่าในประเทศจีน เป็นการแสดงออกของหัวใจการทำงาน หลักการพื้นฐานแนวทางสำคัญ รวมถึงนโยบายสำคัญของพรรคฯ และประเทศในช่วงยุคใหม่ทางประวัติศาสตร์ในทางระบบกฎหมายของประเทศ
๒. เมื่อย้อนกลับไปมองกระบวนการพัฒนารัฐธรรมนูญของจีน เมื่อ ๖๐ กว่าปี นับตั้งแต่สถาปนาประเทศจีนใหม่เป็นต้นมา (จีนใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อปี ๑๙๕๔ หรือพ.ศ.๒๔๙๗ ส่วนปัจจุบันใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี ๑๙๘๒ หรือ พ.ศ.๒๕๒๕) จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญเชื่อมโยงอนาคตของประเทศและชะตากรรมของประชาชนอย่างแน่นแฟ้น การรักษาอำนาจของรัฐธรรมนูญก็คือการรักษาอำนาจของปณิธานร่วมของพรรคฯ และประชาชน การสร้างหลักประกันให้บังคับใช้รัฐธรรมนูญก็คือการสร้างหลักประกันให้แก่ผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชน หากเคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง มั่นใจว่าประชาชนจะเป็นเจ้าของประเทศได้ กิจการของพรรคฯและประเทศชาติก็จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
๓. ต้องมุ่งมั่นบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และพัฒนายกระดับการบังตับใช้รัฐธรรมนูญให้สูงขึ้น
๓.๑ ยึดมั่นทิศทางการเมืองที่ถูกต้อง ยืนหยัดเส้นทางการพัฒนาการเมืองแบบสังคมนิยมแบบมีอัตลักษณ์จีน ต้องจัดสรรอำนาจในการกำหนดนโยบาย อำนาจในการดำเนินการ และอำนาจในการตรวจสอบอย่างเหมาะสม จัดการความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จัดการความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติได้อย่างเหมาะสม จัดการความสัมพันธ์ทางผลประโยชน์ทุกด้านอย่างเหมาะสม
๓.๒ ดำเนินนโยบายการปกครองประเทศด้วยหลักนิติรัฐ โดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนด ต้องพัฒนากิจการของประเทศและงานด้านต่างๆ เข้าสู่ระบบกฎหมาย
๓.๓ ยืนหยัดให้ประชาชนมีบทบาทสำคัญ รับประกันว่าประชาชนจะมีสิทธิและปฏิบัติตามหน้าที่
๓.๔ ยืนหยัดการนำของพรรคฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการนำและวิธีการปกครองของพรรคฯ การปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ และการบริหารประเทศโดยใช้กฎหมาย
๔. ยึดมั่นการสร้างประเทศ รัฐบาล และสังคมที่ปกครองด้วยระบบกฎหมาย ต้องพยายามทำให้ประชาชนสัมผัสได้ถึงความยุติธรรมและความเป็นธรรมในทุกคดีความหน่วยงานตุลาการทั้งหมดจะต้องปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายนี้
ดังนั้น การรักษาความมั่นคงในสังคมเป็นภารกิจพื้นฐานของงานด้านการเมืองและกฎหมาย จะต้องจัดการความสัมพันธ์ระหว่างการรักษาความสงบกับการรักษาอำนาจอย่างเหมาะสม จะต้องแก้ปัญหาความต้องการด้านผลประโยชน์ของมวลชนที่ถูกต้องตามกฎหมายให้ได้ และจะต้องปรับปรุงระบบรักษาผลประโยชน์ของมวลชนให้สมบูรณ์ขึ้น
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
(ข้อมูลจากหนังสือ เรื่อง “สี จิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ” โดย สี จิ้นผิง ซึ่งสำนักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์เป็นฉบับภาษาไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙, หน้า ๑๕๗ – ๑๗๖.)