จีนศึกษา

จีนศึกษา๘๖ หมากล้อม

แนวคิดทางยุทธศาสตร์ของจีนจากกระดานหมากล้อมและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีหมากล้อมในยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของจีน โดย ดร.เดวิด ไล่ (David Lai) ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาความมั่นคงแห่งเอเชีย สถาบันศึกษายุทธศาสตร์ วิทยาลัยการทัพบกสหรัฐฯ ได้เขียนขึ้นเมื่อปี๒๐๐๔ (..๒๕๔๗) และ ดร.เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ได้นำมาวิเคราะห์ไว้ในหนังสือชื่อ “On China” ปี๒๐๑๑ (..๒๕๕๔) ในหน้า ๒๒๓๒ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

     . หมากล้อม ในภาษาจีนเรียกว่าเหวยฉี” (围棋, Wei Qi) ที่มีต้นกำเนิดในจีนเมื่อประมาณ,๐๐๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา และคนจีนสมัยโบราณเรียกหมากล้อมว่าอี้” (, Yi) โดยการเล่นบนตารางสี่เหลี่ยมที่มีจุดตัดกัน ๑๙ จุดตามแกนแต่ละเส้น ที่ผู้เล่นสองคน ต้องเปลี่ยนหมากหินสีขาวหรือดำ (ค่าเท่ากันทั้งหมด) บนตาราง เป้าหมายคือการล้อมรอบและจับหมากศัตรูพลิกให้กลานเป็นพวกหรือหมากของฝ่ายตน และถ้าไม่ใช่ก็ฆ่าโดยถอนออกจากกระดานฯ ซึ่งเกมกระดานเดียวนี้ บางครั้งอาจใช้เวลาทั้งวัน และใช้ความอดทนกว่าจะได้ผู้ชนะ ซึ่ง ดร.เดวิด ไล่ได้กล่าวถึงปรัชญาของหมากล้อม ที่นำแนวทางของหลักการสำคัญของตำราพิชัยสงครามซุนวูมาประยุกต์ โดยเฉพาะหลักการสำคัญของซุนวู คือการใช้ความยืดหยุ่นและฉับพลัน รวมทั้งการเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิด ชิงความได้เปรียบในสถานการณ์ที่จะนำสู่การบรรลุเป้าหมายทางการเมืองได้ดีที่สุด

     . การประยุกต์ใช้ทฤษฎีหมากล้อมในการดำเนินยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของจีน โดยจีนได้วางหมากไว้อย่างมีกลยุทธ์ ดังบทวิเคราะห์ของ ดร.เฮนรี คิสซินเจอร์ ซึ่งได้กล่าวอ้างจากผลงานของ ดร.เดวิด ไล่ ว่า ภูมิศาสตร์การเมือง (ภูมิรัฐศาสตร์) แบบหมากล้อมของจีน คือการลงทุนในต่างประเทศที่รัดกุม มุ่งเป้าไปที่การล้อมรอบพื้นที่ที่มีนัยยะสำคัญ ในระยะยาวของจีนกล่าวคือ

           . ดร.เดวิด ไล่ เห็นว่าการเคลื่อนไหวในแอฟริกา อเมริกาใต้และยุโรปตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ของจีนซึ่งสอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่เชื่อว่า กำลังจะเห็นความเสื่อมลงในระยะยาวของอำนาจรัฐอเมริกัน ตัดกับความรุ่งเรืองของจีนที่ผุดรอบภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น ตามปรัชญาหมากล้อมที่เน้นความปรองดอง ไม่เผชิญหน้า ปะทะ หักหาญทำลาย ยึดฉวยเอาประโยชน์ฝ่ายเดียว แต่ใช้ความยืดหยุ่น ประโยชน์ร่วม ผ่อนหนักเบาขัดแย้งแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ด้วยความอดทน และเข้าใจว่าสงครามคือทางเลือกสุดท้าย ที่ไม่มีใครได้ประโยชน์

           . ดร.เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ได้ยกกรณีตัวอย่างของการล้อมไต้หวัน และมุ่งคืนไต้หวันกลับสู่อธิปไตยของจีน โดยไม่ต้องใช้กำลังรบ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยจีนใช้บันไดทั้งทางเศรษฐกิจ การทหารและการทูต เพื่อระงับการเคลื่อนไหวในการแยกตัว อาทิ กระตุ้นกระแสการค้าและการลงทุนที่ไหลผ่านช่องแคบไต้หวัน เป็นต้น

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจาก Henry Kissinger 2011. On China. New York : Penguin Books., pp.22-32. และข้อมูลจากเว็บไซต์ https://fas.org/man/eprint/lai.pdf รวมทั้งเว็บไซต์https://guru.sanook.com/2277/ และเว็บไซต์  https://mgronline.com/china/detail/9610000026743 )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า