ภูมิภาค

ภูเก็ตปลัดกระทรวงยุติธรรม รับแนวทางการช่วยเหลือชาวเลราไวย์ทั้งเรื่องคดีและการหาที่ดิน

สร้างหมู่บ้านวัฒนธรรมชาวเล รับกลับไปสานต่อ รวมถึงเสนอ ครม.แก้ไขปัญหาที่ดินชาวราไวย์

วันนี้ (28 มกราคม 2566)  นาง พงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมพ...ประวุธ วงศ์สีนิล,นาย วัลลภ นาคบัว, นาย  สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์  และ นางอรัญญา ทองน้ำตะโก     รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ...สุริยา สิงหกมลรักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI), รองอธิบดี DSI ...ปิยะ รักสกุลรองอธิบดีDSIพร้อมกน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้ เดินทางมาตรวจเยี่ยมชาวเลราไวย์.ราไวย์ .เมือง .ภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เข้ามาช่วยเหลือชาวเลทางคดีพิพาทเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดินกับนายทุน ทำให้ชาวเลชนะคดี แต่คดียังไม่สิ้นสุด ส่วนคดีในศาลปกครอง ปัจจุบันศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ดินที่ตั้งบาลัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวราไวย์

นางพงษ์สวาท  กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของกองทุนยุติธรรมคืออำนวยความยุติธรรมมาสู่ประชาชน และได้ให้นโยบายกับยุติธรรมจังหวัดทุกจังหวัดต้องไม่ละทิ้งวัตถุประสงค์กองทุนฯ ไม่ใช่แค่การจ่ายเงินเยียวยาอย่างเดียว หลังจากลงพื้นที่ได้สั่งการให้กองทุนยุติธรรมไปทำงานต่อ เรื่องแรกคือเรื่องคดีของชาวเลราไวย์ ทุกครอบครัวมีปัญหาเดียวกัน เพียงแต่ถูกฟ้องแยก ตอนนี้เรามีแนวทางการดำเนินคดีแบบกลุ่มก็จะทำให้การดำเนินคดีของชาวเล มีพลังมากขึ้น และให้ดูแลการปล่อยตัวชั่วคราวการช่วยเหลือเรื่องคดีต่างๆ ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จัดหาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญช่วยเหลือทางคดีที่จะดูแลชุมชนดั้งเดิม  ส่วนการจะให้พื้นที่นี้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมชาวเล กองทุนยุติธรรม สามารถส่งต่อให้หน่วยงานอื่นในกระทรวงที่จะไปสานต่อ แต่ถ้าดูแล้วเกินอำนาจกองทุนยุติธรรม ก็จะส่งต่อศูนย์บริการร่วม ซึ่งจะพิจารณาต่อไปว่าถ้าจะพัฒนารักษาพื้นที่ชุมชนวัฒนธรรมดั้งเดิม ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เราสามารถตั้งเรื่องได้ กระทรวงยุติธรรมสามารถเสนอครม. ได้  ทั้งนี้มาตรการทางบริหารต้องเข้ามาจับ เพราะจะเห็นว่าพื้นที่ของชาวเลราไวย เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน เพราะฉะนั้นการบูรณาการการใช้มาตรการบริหาร ก็จะรับตรงนี้ไปดำเนินการ

...ประวุธ  วงศ์ สีนิล  รองปลัดกระทรวงยุติธรรม  กล่าวว่า พื้นที่นี้ปัญหาคือโฉนดใบนี้ ทั้งที่ชาวเล มีคำพิพากษาชนะคดี หลายคดี ตอนนี้ทางกระทรวงก็ต้องไปหาวิธีว่าจะจัดการกับโฉนดใบนี้อย่างไร

สำหรับ ...ประวุธ ได้เข้ามาช่วยชาวเลราไวย์ ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นรองอธิบดี DSI ทั้งตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอกระดูกบรรพบุรุษ การทำผังตระกูลเชื่อมโยงกับครูหมอ และทะเบียนการเข้าเรียนของเด็กนักเรียนชาวเล ที่โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ หรือการตรวจพิสูจน์ด้วยการนับอายุต้นมะพร้าว ซึ่งมีมาก่อนที่เจ้าของโฉนดอ้างว่าเข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินด้วยการปลูกมะพร้าว หรือการอ่านแปรภาพถ่ายทางอากาศ และภาพเสด็จพระราชดำเนินของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาที่หมู่บ้านชาวเลราไวย์ เมื่อ วันที่ 10 มี..2502 ขณะนั้น มีบ้านเรือนชาวเล และมีต้นมะพร้าวเต็มพื้นที่ แต่เหตุผลการออกโฉนด ในปี 2508 โดยนำส..1 มาออกเอกสารสิทธิ์ จึงมีเนื้อหาขัดแย้งกับภาพเสด็จพระราชดำเนิน ปี 2502

 

ทั้งนี้ชาวเลราไวย์ ปัจจุบันมีจำนวน 250 ครอบครัวมี จำนวนประชากรกว่า 2,000 คนที่ต้องอาศัยในพื้นที่จำกัด ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ จนต้องขยายออกไปนอนชายทะเล การเวนคืนที่ดิน จากเจ้าของที่ดินที่มีข้อพิพาทกับชาวเล ยินดีจะขายให้รัฐ ในราคาเวนคืนซึ่งเป็นทางออกที่ทั้งเจ้าของที่ดินและชาวเลราไวย์ ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า