ภูมิภาค

เชียงรายประชุมคณะขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงระยะ 5 ปี (2566 – 2570)

วันที่ 7 มีนาคม 2565 ห้องประชุมพญาพิภักดิ์ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงราย นายภาสกร  บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงจังหวัดเชียงรายครั้งที่ 1 / 2565 พร้อมด้วยหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนโครงการหลวงในห้วงระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ .. 2566 – 2570)

       สืบเนื่องจากการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงจังหวัดเชียงรายครั้งที่1 / 2563 (เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563) มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดเชียงราย ในปีงบประมาณ ..2565 โดยศูนย์โครงการหลวงได้เสนอแผนงานโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และได้รับการจัดสรรงบประมาณจากงบจังหวัดในปีงบประมาณ .. 2565 จำนวน 6 กิจกรรม ได้แก่ การก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ไม่ตัดใบ (เฟิร์นหนังลีเธอร์ลีพ) พร้อมอุปกรณ์ และอาคาร (ศูนย์พัฒนาโครงการห้วยน้ำริน) การก่อสร้างโรงคัดบรรจุภายใต้มาตรฐานระบบ GMP จำนวน 1 หลัง เพื่อใช้ในการคัดบรรจุ ไม้ผล กาแฟ พืชไร่(ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง) การสร้างศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชผักในโรงเรือนบนที่สูง(ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง) การก่อสร้างอาคารศูนย์เรียนรู้การผลิตกาแฟอาราบิก้าบนพื้นที่สูงภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัยพร้อมลานตาก การก่อสร้างห้องเย็นเพิ่มความชื้น (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง) และการก่อสร้างอาคารศูนย์เรียนรู้ประจำศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ)

          สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนโครงการหลวงในห้วงระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ 2566 – 2570) และประเด็นที่ต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดในการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีทั้งหมด 7 โครงการ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอคือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยริน อำเภอเวียงป่าเป้า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง อำเภอเวียงป่าเป้า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่สรวย ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยสะโง๊ะ อำเภอเชียงแสน  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง อำเภอเวียงแก่น และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น  ทั้งนี้โครงการที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ไม่ว่าจะเป็น เพื่อจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคที่ถูกสุขลักษณะแก่ชุมชน เพื่อจัดแบ่งพื้นที่ทำกินของเกษตรกร ให้แยกออก และไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ของรัฐ รวมถึงกรณีการขุดบ่อน้ำ เพื่อใช้กักเก็บน้ำในฤดูฝน และใช้ในฤดูแล้ง อีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า