ตัวแทนนิสิต-นักศึกษา 12 สถาบัน ยื่นเรื่องต่อ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) – (จบ)
ประเด็นที่สองเรื่อง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวน 5 คน ด้านสาขาที่กำหนดในทางปฏิบัติจริง เป็นอดีตข้าราชการเก่าที่ระดับต่ำคณะกรรมการโดยตำแหน่งที่มีอยู่แล้ว ทั้งด้านนักกฎหมาย หรือด้านการเงินก็ไปเอาข้าราชการระดับรองๆ ที่เกษียณอายุไปในกระทรวงการคลังเข้ามา ในส่วนนี้คณะ กมธ ได้เสนอควรมีผู้ทรงคุณวุฒิจากเดิม 5 คน เป็น 7 คน และใน 7 คน ซึ่งโครงสร้างของผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นสัดส่วนที่ไม่ให้ระบบราชการไม่ชี้นำจนเกินไป แต่ต้องประกอบด้วยบุคคลที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการศึกษาให้กฎหมายนี้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด และก็เกิดประโยชน์มากที่สุด เพราะการศึกษาในอนาคต รัฐธรรมนูญเราเขียนหมดเลย ต้องมีกองทุนสำหรับผู้ยากไร้ เขียนคำว่า “ต้องมี” ไม่ใช่ “ควรมี” (หรือพึงมี) ปรากฏว่าต้องมีกองทุนสำหรับผู้ยากไร้ แต่ในปัจจุบันมีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ปรากฏว่ากองทุนเสมอภาคเพื่อการศึกษา กลับไปที่คนที่เรียนฟรี 15 ปี ถึง 99 % ซึ่งคนกลุ่มนี้เขามีเงินอยู่แล้ว คนที่ยากไร้กลับไม่มีกองทุน ฉะนั้นอาจถือได้ว่ารัฐไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นที่ประชุม กมธ.จึงต้องมีการแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
เบื้องต้น กมธ วิสามัญฯ เห็นควรให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เพิ่มจากเดิมที่มี 5 คน จะด้านใดบ้างได้มีการอภิปรายเสนอจาก กมธ เพื่อให้กองทุบรรลุเป้าประสงค์ ซึ่งในตัวผมเอง สิ่งที่นักศึกษาเสนอมา อย่างเช่น สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย มีกฎหมายของ พม. (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) รองรับอยู่แล้ว ก็สมควรจะเลือกตัวแทนประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชนก็มีความจำเป็นเนื่องจากเป็นผู้ทราบถึงปัญหาและบริบทการศึกษาอย่างแท้จริง
กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.กยศ. ได้ทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง ตั้งใจให้เสร็จทันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา แต่จะไม่รีบจนขาดความรอบครอบ มีประเด็นคำถามเรื่องการไปเรียกดอกเบี้ยและเบี้ยปรับจากลูกหนี้ ปัจจุบัน ทำให้ กยศ.มีสินทรัพย์ กยศ.ถึง 3 แสนล้านกว่าบาท การจะบริหารเงินตรงนี้ กฎหมายเดิมเปิดโอกาสไว้ในมาตรา 12 คือ พรบ กยศ ปี 41 กองทุนจะเอาแค่ดอกเบี้ยที่ไปฝากกับธนาคารพาณิชย์มาใช้เท่านั้น แต่ พรบ กยศ ปี 60 จะเปิดกว้างให้ไปซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐได้ เช่น รัฐวิสาหกิจบางแห่ง มูลค่าหลักทรัพย์สูงขึ้นหลายเปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นถ้า กยศ.เป็นมืออาชีพจริงๆ ต้องไม่ต้องไปเอากำไรจากเด็กนักศึกษาที่ไม่มีเงิน แต่ต้องบริหารจัดการให้เงินที่มีอยู่เพิ่มมูลค่ามากขึ้นจากการบริหาร
เห็นว่า นักเรียนนักศึกษาเป็นหนี้ ต้องคืนเงินก็พอแล้ว เพราะสิ่งที่เขาคืนสังคมในเรื่องคุณภาพของคนที่ได้รับการศึกษาที่เป็นอนาคตที่ดี ถือว่าประเทศได้กำไร