จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๘๓ ความร่วมมือจีน-อาเซียน

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ต่อความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียนและผลประโยชน์ของประเทศไทย กล่าวคือ

     เขตบริหารพิเศษฮ่องกงเป็นหัวใจสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้เอเชียเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก และเป็นหัวหอกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือทางการค้าการลงทุนเคียงคู่ขนานกับการเชื่อมโยงเส้นทางยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) กับพันธมิตรในภูมิภาคอื่นของโลก รวมทั้งการขยับเพื่อปรับตัวของความร่วมมือใหม่ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง อาทิ การก่อตัวของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ระหว่าง ๑๐ ประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่มีจีนเป็นหัวหอกภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งพาดผ่านกลุ่มประเทศระหว่าง คาบสมุทรอินเดียและแปซิฟิก

      การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมอย่างไร้รอยต่อคือหัวใจสำคัญสูงสุดของ BRI โดยในอนาคต ความสำคัญที่มิได้ด้อยกว่าเลยคือการเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ และกรณีของประเทศไทยนั้น Belt and Road ได้แสดงให้เห็นผลอย่างชัดเจนในการสร้างประโยชน์เศรษฐกิจร่วมกัน จากการที่คณะนักลงทุนไม่ว่าจากแผ่นดินใหญ่ หรือจากฮ่องกงได้หลั่งไหลเข้ามาติดต่อ ประสานและลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเหล่านี้ย่อมมิได้จำกัดอยู่ที่ประเทศไทยเท่านั้น แต่จะขยายตัวครอบคลุมสู่ทั้งภูมิภาคเพราะความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ และหากเส้นทางรถไฟและเส้นทางคมนาคม เสร็จสมบูรณ์ การเชื่อมโยงของทั้งคนและสินค้าจะทวีขึ้นอย่างมหาศาล การเชื่อมโยงทางอินเทอร์เน็ตที่จะนำไปสู่การค้า e-Commerce การขยายตัวของ logistic ที่จะตามมา

      ความสำเร็จของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำ ชาติแห่งลุ่มน้ำอิระวดีเจ้าพระยา และแม่โขง (ACMECS) ครั้งที่ เมื่อปี ..๒๕๖๑ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศ Master Plan ระหว่างสมาชิก ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามและไทย (CLMVT) ไม่ใช่เพียงมีขนาดประชากรกว่า ๒๓๐ ล้านคน และจำนวนแรงงานมากกว่า ๑๓๐ ล้านคน เป็นทั้งตลาดและ supply chain ที่สำคัญในเอเชีย แต่ในห้วงเวลาที่ BRI กำลังเชื่อมโยงจีนลงใต้สู่อาเซียน ทำให้อาเซียนตอนบน หรือ ACMECS ได้กลายเป็นดินแดนที่อยู่ใจกลาง ที่สำคัญยิ่งทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาคดังนั้นเมื่อ greater bay area เป็นภูมิภาคที่อยู่ติดกับ ACMECS โดยตรง เส้นทางรถไฟจากจีนที่จะลงสู่ใต้จะเป็นการเชื่อมโยงประชาชนและธุรกิจระหว่าง ภูมิภาคโดยตรงหากมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างกันในระหว่าง อนุภูมิภาค ย่อมหมายถึงพลังร่วมที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้น

     ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีความคาดหวังว่า จะได้พัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ใน EEC เช่นการขนส่งทางอากาศ รถยนต์รูปแบบใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ วิทยาศาสตร์ทางการเกษตรและชีวภาพ หุ่นยนต์ การแพทย์และการดูแลสุขภาพ วัสดุทางชีวภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและยกระดับของอุตสาหกรรมไทย

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com//politics/2017-08/03/c_1121428525.htm )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า