จีนศึกษา๑๔๒ แนวโน้มตลาดทุเรียนส่งจีนของไทย
แนวโน้มของตลาดทุเรียนในประเทศจีน กับโอกาสของประเทศไทยที่จะเป็นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลกในระยะ ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๔–๒๕๖๘) โดยราคาทุเรียนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยใน ๓สถานการณ์ ได้แก่
๑. หากจีนนำเข้าทุเรียนหมอนทองน้อยกว่า ๑๐% ราคาขายส่งของทุเรียนหมอนทองในGuangzhou Jiangnan Fruit Exchange จะอยู่ที่ ๑๗๗ บาท / กก. ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘ และราคาขายส่งเฉลี่ยของทุเรียนหมอนทองในปี พ.ศ.๒๕๖๔–๒๕๖๘ จะอยู่ที่ ประมาณ ๑๗๔ บาท / กก.
๒. หากจีนนำเข้าทุเรียนจากไทยเพิ่มขึ้น ๑๐–๑๕% ราคาขายส่งของทุเรียนหมอนทองในGuangzhou Jiangnan Fruit Exchange จะอยู่ที่ประมาณ ๒๗๙ บาท / กก. ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘และราคาขายส่งเฉลี่ยของทุเรียนหมอนทองในปี พ.ศ.๒๕๖๔–๒๕๖๘ จะอยู่ที่ประมาณ ๒๔๓ บาท/ กก. กก.
๓. หากจีนนำเข้าทุเรียนไทยมากกว่า ๑๕% ราคาขายส่งของทุเรียนหมอนทองในGuangzhou Jiangnan Fruit Exchange จะอยู่ที่ประมาณ ๓๗๙ บาท / กก. ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘และราคาขายส่งเฉลี่ยของทุเรียนหมอนทองในปี พ.ศ.๒๕๖๔–๒๕๖๘ จะอยู่ที่ประมาณ ๒๙๐ บาท/ กก.
ทั้งนี้ นอกจากการที่ประเทศไทยจะเป็นผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลกในระยะ ๕ ปี(พ.ศ.๒๕๖๔ –๒๕๖๘) และมีโอกาสอย่างมากในตลาดจีนแล้ว ยังมีการวิเคราะห์ว่า จะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทุเรียนได้มากขึ้น อันจะทำให้ทุเรียนพื้นบ้านและทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของไทยได้รับความนิยมมากขึ้น รวมทั้งคุณภาพทุเรียนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานGMP และการรับรองมาตรฐาน Good Agricultural Practice (GAP) จะเป็นโอกาสในการพัฒนาตลาดใหม่ๆ ของทุเรียนไทย อาทิ ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง และอินเดีย เป็นต้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.ittime.com.cn/news/news_47130.shtml และเว็บไซต์https://www.gushiciku.cn/dl/1gpPw )