จีนศึกษา๖๕ พัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียน
พัฒนาตลาดของอุตสาหกรรมทุเรียนของจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๔ (2021年中国榴莲行业市场发展分析) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. การบริโภคของตลาดจีน จากปี ๒๐๑๐ – ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๕๓ – ๒๕๖๒) อัตราการเติบโตของการบริโภคทุเรียนโดยเฉลี่ยต่อปีในประเทศจีนเกิน ๑๖% และอัตราการเติบโตค่อนข้างเร็วปัจจุบัน จีนเป็นตลาดผู้บริโภคทุเรียนที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก คิดเป็น ๑๙% ของการบริโภคของโลก
๒. สถานการณ์การนำเข้าของจีน ตั้งแต่ปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) จีนนำเข้าทุเรียนสดมากกว่าเชอร์รี่ และทุเรียนได้กลายเป็นราชาแห่งผลไม้นำเข้า แม้แต่โรคโควิด-19 ก็ไม่สามารถหยุดผู้บริโภคชาวจีนจากทุเรียนที่รัก โดยตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) การนำเข้าทุเรียนสดของจีนสูงถึง ๘๐๙,๒๐๐ ตัน โดยไทยเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ในจีนอย่างต่อเนื่องเนื่อง (โดยในปี ๒๐๒๑ หรือ พ.ศ.๒๕๖๔ ไทยส่งออกทุเรียนไปยังจีนรวม ๕๗๕,๐๐๐ ตัน เพิ่มขึ้น๔๔% ) ในขณะที่ค่าขนส่งและโลจิสติกส์ที่สูงก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ทุเรียนมีราคาสูงโดยในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ราคานำเข้าทุเรียนสดเฉลี่ยในจีนจะอยู่ที่ ๔.๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ/กิโลกรัม และราคาได้สูงขึ้นอีกในปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ที่ ๕.๑๑ ดอลลาร์สหรัฐ/กิโลกรัม
๓. การผลิตทุเรียนของประเทศไทย ปัจจุบันทุเรียนในประเทศไทยมีมากกว่า ๒๐ สายพันธุ์ แต่ทุเรียนส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศจีนมี ๓ ชนิด ได้แก่ หมอนทอง ชะนี และก้านยาว โดยปริมาณการส่งออกทุเรียนหมอนทองคิดเป็นเกือบ ๙๐% โดยประเทศไทยเป็นพื้นที่ผลิตทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก พื้นที่ผลิตหลักกระจายอยู่ที่ภาคตะวันออกแถบจังหวัดจันทบุรี ระยองและตราด รวมทั้งบางส่วนจากทางภาคใต้แถบจังหวัดชุมพรและยะลา และบางส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) การผลิตทุเรียนในประเทศไทยอยู่ที่ ๑.๑๐๘๗ ล้านตัน และในปี ๒๐๒๑(พ.ศ.๒๕๖๔) มีผลผลิตสูงถึง ๑.๒๘๘๖ ล้านตัน ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกทุเรียนของไทยครองอันดับ ๑ ของโลก โดยในปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ทุเรียนส่งออกของไทยมีถึง ๖๒๑,๐๐๐ ตัน เพิ่มขึ้น ๑๓๕,๐๐๐ ตันเมื่อเทียบกับปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) โดยส่งออกไปจีนคิดเป็น ๙๓% ซึ่งปี๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ถือเป็นปีทองของไทยที่ปริมาณยอดขายทุเรียนของไทยส่งออกไปยังจีนได้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
บทสรุป ประเทศไทยได้ส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีน ในปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) รวม ๕๗๕,๐๐๐ตัน คิดเป็นมูลค่า ๒.๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ๑๔,๖๒๙,๐๐๐ ล้านหยวน) และคาดว่าในปี ๒๐๒๒ (พ.ศ.๒๕๖๕) การผลิตทุเรียนในภาคตะวันออกของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น ๒๐% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งจะทำให้การส่งออกทุเรียนของไทยไปยังจีนมีน้ำหนักรวมสูงถึง๗๒๑,๐๗๘ ตัน
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.chyxx.com/industry/202201/991825.html และเว็บไซต์ https://asiafruitchina.net/index.php?id=3380 )