เหล่าทัพ-ตำรวจ

ทัพฟ้าประกอบพิธีเนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันทิวงคต”พระบิดาแห่งกองทัพไทย”

จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถกรมหลวงพิศณุโลกประชานารถพระบิดาแห่งกองทัพไทย

    วันที่ 13 มิถุนายน 2565 พลอากาศเอกนภาเดช

ธูปะเตมีย์  ผู้บัญชาการทหารอากาศ  พร้อมด้วยคุณปัญญดาว ธูปะเตมีย์ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีเนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันทิวงคต จอมพล  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย กองบัญชาการกองทัพอากาศ โดยมีคุณภูษณิศา อุทยานวุฒิกุล  ผู้แทนราชสกุลจักรพงษ์สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ร่วมในพิธี

ในวาระอันสำคัญยิ่งนี้กองทัพอากาศได้จัดพิธี ประกอบด้วย

พิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระอนุสาวรีย์ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถกรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย  กองบัญชาการกองทัพอากาศ

พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน  วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

พระประวัติ  จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถกรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 40 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และลำดับที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ทรงประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ

วันที่ 3 มีนาคม พุทธศักราช 2426 (ตามปฏิทินสากล) เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษจากนั้นทรงเข้าศึกษาวิชาการทหาร ที่โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก Corps de pages ประเทศรัสเซีย พระองค์ทรงสอบไล่ได้ที่ 1 และทรงทำคะแนนได้สูงสุดเป็นประวัติการของโรงเรียน  เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาได้เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยอีกครั้งในปีพุทธศักราช 2446 พร้อมกันนั้นพระองค์ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายร้อยเอก  และในปีเดียวกันนั้นเองก็ได้เสด็จกลับเพื่อการศึกษาชั้นสูงต่อไป  โดยเข้าประจำโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการเป็นเวลา 2 ปีปรากฏว่าพระองค์ทรงสอบได้เป็นที่ 1 อีกครั้ง และพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงพอพระทัยยิ่งได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นนายพันเอกพิเศษ ในกองทัพบกรัสเซีย และเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารม้าฮุสซาร์ของสมเด็จพระจักรพรรดิ  อีกทั้งยังพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซ็นต์อันเดรย์ชั้นสายสะพาย ซึ่งเป็นตราสูงสุดของประเทศรัสเซียสมัยนั้น  รวมทั้งตราเซ็นต์วลาดิเมียร์ อีกด้วย

ด้วยพระปรีชาและความโดดเด่นด้านการทหารของพระองค์นั้น  เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ให้ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ  ยศนายพันเอก และทรงได้ทรงเริ่มจัดการงานต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเช่นเดียวกับอารยประเทศ ทั้งยังทรงจัดระเบียบการศึกษาด้านการทหาร อาทิ  ทรงจัดระเบียบแบบแผนโรงเรียนนายร้อยขึ้นใหม่ โดยให้มีนักเรียนนายร้อยชั้นปฐมและนักเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ทรงวางแนวทางหลักสูตรการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการและการคัดเลือกนายทหาร  ที่มีคุณสมบัติอันเหมาะสม

เข้ารับการศึกษา ถือได้ว่าพระองค์เป็นผู้นำความก้าวหน้ามาสู่กิจการทหารก็ว่าได้

ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ทรงเห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก ทรงจัดให้มีการคัดเลือกนายทหาร 3 นายไปศึกษาวิชาการบิน   ประเทศฝรั่งเศส คือนายพันตรี หลวงศักดิ์

ศัลยาวุธ (สุณี  สุวรรณประทีป) นายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร (หลง  สินสุข) และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต  จากนั้นกระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อเครื่องบินจากประเทศฝรั่งเศสมาด้วย จำนวน

8 เครื่อง จัดตั้งเป็นแผนกการบิน ที่สนามราชกรีฑาสโมสร  (สนามม้าวังสระปทุม) ต่อมา ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบินมาที่ ตำบลดอนเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พุทธศักราช 2457 และทรงยกฐานะแผนก

การบิน เป็นกองบินทหารบกในวันที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2457 หลังจากสงครามโลกครั้งที่1 พระองค์ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการบิน ทั้งในกิจการทหารและกิจการพลเรือน  ในปีพุทธศักราช 2462 จึงมีการทดลองการคมนาคมทางอากาศเป็นครั้งแรก โดยนำเครื่องบินสปัด2 เครื่อง บรรทุกถุงไปรษณีย์เครื่องละ 1 ถุงจากดอนเมืองไปส่งที่จังหวัดจันทบุรี ผลของการเดินทางไปครั้งนั้น นับว่าได้ผลสำเร็จดีทุกประการจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์

ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถได้ทรงได้แสดงความชื่นชม และทรงเห็นว่าสมควรจัดการบินไปสู่จังหวัดอื่นๆอีก  เพื่อให้ข้าราชการ พ่อค้า คหบดีตามจังหวัดต่างๆได้ดูและช่วยอุดหนุนทางด้านการบิน พร้อมได้กล่าวข้อความสำคัญตอนหนึ่งว่า

“…กำลังในอากาศเป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะกันมิให้การสงครามมาถึงท่ามกลางประเทศของเราได้  ทั้งยังเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในการคมนาคมเวลาปกติ…” จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ   กรมหลวงพิษณุโลกประชา

นารถ  เสด็จทิวงคตด้วยพระปับผาสะเป็นพิษ

(เป็นโรคปอดบวม)

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนพุทธศักราช 2463 สิริพระชนมายุได้ 37 พรรษา 3 เดือน 10 วัน

นับว่าพระองค์ทรงวางรากฐานแนวทางเสริมสร้างกำลังทางอากาศของประเทศไทย อย่างจริงจังจนกระทั่งได้มาเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบัน  กองทัพอากาศจึงได้เทิดพระเกียรติพระองค์ท่านให้เป็นพระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า