จีนศึกษา๒๘ แนวคิดของจีนในการผลักดันการปฏิบัติตามข้อตกลงการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ๒๐๓๐ ของสหประชาชาติ
๑. ช่วยขจัดความยากจน ซึ่งการขจัดความยากจนเป็นความปรารถนาร่วมกันของประชาชนในทุกประเทศและเป็นพันธกิจร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ ดังนั้น เป้าหมายหลักของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) คือการขจัดความยากจนทุกรูปแบบในโลก โดยจีนช่วยประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการลดความยากจนและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการช่วยเหลือในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสวัสดิการสาธารณะในชนบท แบ่งปันประสบการณ์ด้านการกำกับดูแลการเกษตร และดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาทิ
๑.๑ ดำเนินการสาธิตการลดความยากจน ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการพัฒนากระบวนการลดความยากจน เช่น ดำเนินโครงการสาธิตการลดความยากจนในลาว เมียนมากัมพูชาและประเทศอื่น ๆ แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์การลดความยากจน โดย “การส่งเสริมหมู่บ้าน” (“整村推进”) ในการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรระดับหมู่บ้านและสนับสนุนความร่วมมือด้านการผลิตของเกษตรกร เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาและสร้างสรรค์แนวคิดในการบรรเทาความยากจน ผ่านการจัดโครงการวิจัยและฝึกอบรมและการจัดสัมมนาร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ การแบ่งปันแนวคิดการพัฒนาและประสบการณ์ในการลดความยากจนแก่ประเทศกำลังพัฒนา ฯลฯ
๑.๒ ช่วยประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขันในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชนบทและตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งการผลิตและการดำรงชีวิตในท้องถิ่น
๑.๓ ปรับปรุงความสามารถในการกำกับดูแลของรัฐบาลในการบรรเทาความยากจนกลุ่มพิเศษและการดูแลทางการแพทย์ เช่น การกำหนดนโยบายสำหรับคนพิการและเสริมสร้างบริการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับคนพิการ ฯลฯ
๒. ปรับปรุงความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากเกษตรกรรมเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความมั่นคงทางสังคม โดยเฉพาะการปรับมาตรการให้เข้ากับสภาพท้องถิ่นเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เร่งการพัฒนาการเกษตรบรรลุความพอเพียงด้านอาหารและประกันความมั่นคงด้านอาหาร กล่าวคือ
๒.๑ เพิ่มกำลังการผลิตทางการเกษตร โดยสร้างศูนย์สาธิตเทคโนโลยีการเกษตร การส่งเสริมพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง แนะนำเกษตรกรในการปรับปรุงกำลังการผลิต และให้ความช่วยเหลือทางด้านผู้เชี่ยวชาญ
๒.๒ ปลูกฝังการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การเกษตรและบุคลากรทางเทคนิค เช่น การสร้างโรงเรียนเทคนิคการเกษตรในประเทศกัมพูชา ฯลฯ
๒.๓ สนับสนุนการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมการเกษตร เช่น การสร้างโรงฆ่าสุกรและโคของประเทศคิวบา ฯลฯ
๓. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสุขภาพ โดยปฏิบัติแนวคิดเรื่องผู้คนเป็นอันดับแรก และสนับสนุนการสร้างระบบสาธารณสุขในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อย่างจริงจัง ในการปรับปรุงระดับบริการทางการแพทย์และสุขภาพเพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของประชาชน อาทิ
๓.๑ การสร้างระบบสาธารณสุข เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการก่อสร้างระบบสาธารณสุขในแอฟริกา
๓.๒ ปรับปรุงความสามารถทางการแพทย์และสุขภาพขั้นพื้นฐาน โดยการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
๓.๓ เสริมสร้างบริการทางการแพทย์และสุขภาพ โดยการส่งสมาชิกทีมแพทย์ช่วยเหลือ
๔. รับประกันคุณภาพการศึกษา เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนา โดยให้ความช่วยเหลือในการสร้างโรงเรียน การปลูกฝังครูและขยายขนาดทุนการศึกษาเพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นและเป็นธรรมมากขึ้น อาทิ สนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการส่งเสริมอาชีวศึกษา เป็นต้น
๕. ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งผู้หญิงเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการและความก้าวหน้าทางสังคม โดยจีนช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาอาชีพของสตรี สร้างโอกาสในการเติบโตของสตรี และสนับสนุนและช่วยให้สตรีมีชีวิตที่สดใส เช่น เสริมสร้างการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของสตรี และสร้างขีดความสามารถของสตรีโดยการฝึกอบรมฯลฯ
๖. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสวัสดิการสาธารณะ และพลังงานในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีความรู้สึกว่าได้รับประโยชน์และมีความสุขมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการสร้างสถานสงเคราะห์ของรัฐ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย ตลอดจนการเข้าถึงพลังงาน ฯลฯ
๗. ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีนวัตกรรม เช่น กระบวนการสร้างอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ฯลฯ
๘. สนับสนุนการปกป้องระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจีนสนับสนุนแนวคิดอารยธรรมเชิงนิเวศของการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ การดำเนินโครงการด้านพลังงานใหม่ การ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาสีเขียว การปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การคุ้มครองสัตว์ป่าและการป้องกันการกลายเป็นทะเลทรายและด้านอื่น ๆเพื่อสร้างโลกที่สวยงาม เช่น การพัฒนาพลังงานสะอาด การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการปกป้องมหาสมุทรและทรัพยากรป่าไม้ ฯลฯ
บทสรุป นอกจากการเร่งผลักดันการปฏิบัติตามข้อตกลงการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ๒๐๓๐ ของสหประชาชาติ โดยการสนับสนุนการลดความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ แล้ว จีนยังได้เน้นการปรับปรุงระดับการพัฒนาการเกษตร การส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ.๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓)
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2021-01/10/content_5578617.htm )