ภูมิภาค

เกษตรกรขอนแก่นเร่งหว่านข้าวนาปี หลังชลประทานปล่อยน้ำและฝนตกต่อเนื่อง พบส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ

เพราะมั่นใจว่าจะได้ราคาดี ขณะที่ราคาข้าวเปลือกนาปีปีนี้ขอเพียง กก.ละ10-12 บาทก็พอใจแล้ว

เมื่อเวลา 09.00 .วันที่  12 มิ..2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณแปลงนา ริม ถนนเลี่ยงเมืองสายขอนแก่นกาฬสินธุ์ .พระลับ .เมือง .ขอนแก่น เกษตรกรในพื้นที่ .พระลับ ต่างเร่งทำการหวานข้าวนาปี ประจำฤดูกาลผลิตที่ 2565/66  ที่ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงการทำนาปีปีนี้กันแล้ว โดยส่วนใหญ่พบว่าจะทำนาปีต่อจากการทำนาปรังทันที หลังจากช่วงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ทำการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังเสร็จเกษตรกรในเขต.พระลับ ที่อยู่ในเขตชลประทาน ต่างทำการไถกลบตอซัง และทำการบ่มดิน เป็นเวลา 1 สัปดาห์และเข้าสู่การทำนาปีทันที ทำให้ตลอดทั้งสัปดาห์นี้พื้นที่นาข้าวส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้ว และจากการตรวจสอบพบว่าข้าวนาปีปีนี้เกษตรในพื้นที่หันมาปลูกข้าวหอมมะลิ กันมากกว่าข้าวเหนียว เนื่องจากมั่นใจว่าปีนี้ข้าวหอมมะลินาปีจะมีราคาดี

นายสุขสันต์  โยคุณ ผู้ใหญ่บ้าน .พระคือ .3 .พระลับ .เมือง .ขอนแก่น กล่าวว่าครอบครัวทำนาข้าวบนพื้นที่รวมกว่า 30 ไร่ โดยทำการปลูกข้าวปีทุกปี ขณะที่นาปรังต้องรอการประกาศจากจังหวัดและชลประทานในการบริหารจัดการน้ำ ในช่วงของการทำนาปีที่ผ่านมายอมรับว่าต้นทุนต่างๆนั้นสูงมากโดยเฉพาะปุ๋ย ทำให้การใช้ปุ๋ยให้กับข้าวบางจุดไม่เต็มที่หรือที่เรียกว่าข้าวไม่อิ่มตัว แต่นาปีปีนี้ ที่ขณะนี้ครอบครัวเริ่มหว่านข้าวแล้ว ก็เน้นการทำข้าวหอมมะลิเพราะจากการหารือร่วมกับโรงสีข้าวในพื้นที่ ต่างยืนยันว่านาปีปีนี้ราคาข้าวหอมมะลิ จะได้ราคาดี ทำให้ 30 ไร่ที่ทำการปลูกนาปีปีนี้นั้นปลูกข้าวหอมมะลิทั้งหมด

ยอมรับว่าการทำนาปีปีนี้ต้นทุนนั้นขยับสูงขึ้น ทั้งราคาปุ๋ย ราคาน้ำมัน ราคายาคลุมวัชพืช,ยากำจัดหอย หรือแม้กระทั่งแรงงาน แต่โชคดีที่เมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นครอบครัวมีเมล็ดพันธุ์จากที่ทำการคัดแยกและจัดเก็บไว้แล้ว ทำให้ต้นทุนยังคงพอรับได้ แต่ถึงอย่างไร เมื่อหว่านข้าวแล้วเสร็จ ก็จะต้องพ่นยาคุลมวัชพืช ยากำจัดหอยและอาหารเสริมต่างๆ ที่พบว่ามีราคาที่แพงขึ้นยังไม่นับรวมปุ๋ยต่างๆ ที่ก็ปรับแพงขึ้น ดังนั้นในระยะนี้เข้าสู่ช่วงทำนาปี รัฐต้องควบคุมราคาปุ๋ยและยาต่างๆให้คงที่อย่าผลักภาระต้นทุนมาให้เกษตรกรเพราะราคาน้ำมันที่สูงแบบนี้ก็ส่งผลต่อต้นทุนในเรื่องของการไถ และเครื่องจักรต่างๆที่ใช้ต้นทุนมากพออยู่แล้ว

นายสุขสันต์ กล่าวต่ออีกว่า ราคาต้นทุนปีนี้ยอมรับว่าต่อไร่ขึ้นมาถึง1,000-3,000 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกษตรกรหลายคนนั้นคิดวิเคราะห์และแยกแยะว่าจะทำข้าวนาปีเต็มพื้นที่หรือไม่บางคนมีที่นาหลายสิบไร่ แบกรับต้นทุนไม่ไหวก็ทำนาปีปีนี้เพียง 50% ของที่นาที่มีอยู่ และที่สำคัญยังคงไม่นับรวมในช่วงเก็บเกี่ยวผลิตทั้งค่ารถเกี่ยวข้าว ค่ารถขนข้าวและแรงงานที่ต้องจ้างมาหากรัฐไม่มีการควบคุมใดๆชัดเจนเกษตรกรก็จะต้องแบกต้นทุนและทำนาเพื่อพอให้ใช้หนี้ต่างๆก็พอแล้ว หรือหากจะมีสินชื่อแบบเข้าถึงง่ายและเข้าใจง่ายเพื่อเสริมสภาพคล่อง หน่วยงานของรัฐก็ต้องเร่งมาพูดคุยกับเกษตรกรให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตามจากภาวะต้นทุที่เพิ่มขึ้นในการทำข้าวนาปีปีนี้โดยส่วนตัว คาดว่าราคาข้าวเปลือกนาปีปีนี้ ถ้าจะให้ดีควรอยู่ที่ กก.ละ 10-12 บาท ก็เพียงพอแล้วซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรในพื้นที่นั้นยอมรับได้ และมีกำไรบ้าง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า