ขอนแก่นเดินหน้ารณรงค์ไถกลบตอซังข้าว หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี หลายพื้นที่เริ่มแล้วเสร็จ ลดปัญหาฝุ่นละออง
ขนาดเล็กและมลพิษทางอากาศ “สุเทพ” ย้ำชัดตอซังข้าวมีประโยชน์ไถกลบแล้วจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นยอดเหมาะกับพื้นที่ทางการเกษตรอย่างมาก
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 ธัง.ค. 2564 ที่แปลงนาสาธิตบ้านท่าแก ม.6 ต.ศิลา อ.เมืองจ.ขอนแก่น นายสุเทพ มณีโชติ รอง ผวจ.ขอนแก่น นำเกษตรกรในพื้นที่ ต.ศิลา ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ไถกลบตอซังข้าว เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเกินมาตรฐานและเกิดมลพิษทางอากาศ ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ โดยมีเกษตรกรรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง
นายสุเทพ มณีโชติ รอง ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า ปัญหา ฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน และมลพิษทางอากาศ มีสาเหตุหลักมาจากการเผาในที่โล่งทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำการเกษตร เนื่องจากทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
“วันนี้จึงเป็นวันเปิดปฎิบัติการจากทุกภาคส่วน ในเขต จ.ขอนแก่น ที่ได้ดำเนินการรณรงค์ให้งดเผาตอซัง หลังการเก็บเกี่ยว ด้วยการใช้วิธีการไถกลบ เนื่องจากตอซังข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ไร่ละ 650 – 1,000 กิโลกรัม ซึ่งหากใช้วิธีไถกลบก็จะทำให้เกิดการย่อยสลายและให้ปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช ซึ่งประกอบด้วย ไนโตรเจน ,ฟอสฟอรัส 0.7 – 1.4 กิโลกรัม และโปแทสเซียม คิดเป็นมูลค่าปุ๋ย 261 บาทต่อไร่เลยมีเดียวและที่สำคัญคือการไถกลบตอซังข้าวเป็นการปรับปรุงบำรุงดินคืนความอุดมสมบูรณ์ และความเหมาะในการปลูกพืชซึ่งเป็นการปรับปรุงบำรุงดินที่มี ประสิทธิภาพอละทำได้ง่าย โดยในแปลงสาธิตมีการไถกลบตอซังพร้อมกับหว่านเมล็ดปอเทืองเพื่อให้มีการบำรุงหน้าดิน ทำให้ดินร่วนดีขึ้น ข้าวจะเจริญงอกงาม ปีที่แล้วมีการทดลองปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำ ปรากฏหว่าได้ผลดีดยี่ยม ข้าวเจริญงอกงามมากว่าแปลงที่ใช้สารเคมี ดินร่วนซุย อีกทั้งลดต้นทุนการผลิตไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี “
รอง ผวจ.ขอนแก่น กล่าวต่ออีกว่า จากการดำเนินงานรณรงค์และเปิดปฎิบัติการไถกลบตอซังในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากชาวนามากขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีนี้ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวแล้วอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเขต อ.สีชมพู,เมือง,ชุมแพ,หนองเรือและ อ.กระนวน ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวและปลูกอ้อยเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามคาดว่าปีนี้การเผาตอซังข้าวจะมีในพื้นที่ไม่มาก เนื่องจากประชาชน เข้าใจและรับรู้ในสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่จะสังเกตพบว่าจะเห็นฝุ่นควันคล้ายหมอก และในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.ของทุกปีจะเป็นช่วงที่มีฝุ่นมากที่สุด ดังนั้นนอกจาการรณรงค์ลดการเผาตอซังข้าวและการเผาทุกชนิดแล้วหากพบพื้นที่ใดฝ่าฝืนก็จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทันทีไม่มีละเว้น