สังคม-สตรี-เยาวชน

“ปวีณา” แถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2564  ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม – 9 ธันวาคม 2564

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 . นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้แถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ประจำปี 2564  ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม – 9 ธันวาคม 2564 รวมรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 11,267 ราย  นับว่า มูลนิธิปวีณาฯ รับเรื่องราวร้องทุกข์มากกว่าปี 2563 (ปี2563 รับร้องทุกข์ 10,147 ราย) จำนวน 1,120 ราย คิดเป็น 11.03 %

 เรื่อง โดยจำแนกเป็นปัญหาต่างๆ ดังนี้

1. ข่มขืน / อนาจาร 741 ราย

2. ทารุณกรรม / ทำร้ายร่างกาย / กักขัง 994 ราย

3. ล่อลวง/ค้าประเวณี/ค้ามนุษย์ 96 ราย

4. ยาเสพติด 265ราย

5. คนหาย 70 ราย

6. แรงงานไม่เป็นธรรม/ถูกหลอกทั้งในประเทศต่างประเทศ 32 ราย

7. ปัญหาครอบครัว 1,510 ราย

8. ขอความเป็นธรรม 744 ราย

9. แช็ต / อินเทอร์เน็ต 206 ราย

10. ขอความอนุเคราะห์ 832 ราย

11. ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและบริการทางสาธารณสุข 61 ราย

12. ปัญหาอื่น อาทิ เรื่องเฉพาะส่วนตัว, อาการป่วย, กังวล หวาดกลัว 47 ราย

13. ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 5,669 ราย

รวม มูลนิธิปวีณาฯรับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น 11,267 ราย

 ในปี 2564 ประเภทปัญหาที่มูลนิธิปวีณาฯ ให้ความสำคัญและให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนมี 6 ประเภท ดังนี้ คือ

1. ปัญหาข่มขืน/อนาจาร

2. ปัญหาทำร้ายร่างกาย/ทารุณกรรม

3. ปัญหาค้ามนุษย์/ค้าประเวณี

4. ปัญหาครอบครัว

5. ปัญหายาเสพติด

6. ขอความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 1.ปัญหาข่มขืน/อนาจาร จำนวน 741 ราย เฉลี่ยร้องทุกข์วันละ 2.03 ราย

โดยมีผู้กระทำผิดตามลำดับดังนี้

อันดับ 1 แฟน/เพื่อน 154 ราย คิดเป็น 20.78 %

อันดับ 2 คนรู้จัก 147 ราย คิดเป็น 19.83 %

อันดับ 3 เป็นญาติ 141 ราย  คิดเป็น 19.02 %

อันดับ 4 พ่อเลี้ยง 84 ราย คิดเป็น 11.33 %

อันดับ 5 คนข้างบ้าน 46 ราย คิดเป็น 6.81 %

 ช่วงอายุที่ถูกข่มขืนมากสุด

อันดับ 1.อายุ 10-15 ปี จำนวน 262 ราย คิดเป็น 38.81%

อันดับ 2.อายุ 15-20 ปี จำนวน 182 ราย คิดเป็น 26.96 %

อันดับ 3.อายุ 5-10 ปี จำนวน 85 ราย คิดเป็น 12.59%

*ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงอายุ 10-15 ปี ถูกข่มขืนสูงมาก

 ภูมิภาคที่เกิดเหตุเรียงลำดับดังนี้

1.ภาคกลาง 313 ราย

2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 139 ราย

3.ภาคตะวันออก 84 ราย

 เคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุน้อยสุด 1. เหตุเกิด .เพชรบุรี พ่อแม่ร้องปวีณาแจ้งว่า วันที่ 4 ..64 ลูกสาววัย 10 เดือน ถูกเพื่อนพ่อที่มานั่งเล่นที่บ้านพออยู่ลำพังกับเด็กถือโอกาสล่วงละเมิดทางเพศและสำเร็จความใคร่ตัวเอง แม่เด็กหญิงเห็นเหตุการณ์จึงเข้าช่วยลูกปวีณา ประสานตำรวจ สภ.เมืองเพชรบุรี จับกุมตัวเพื่อนพ่อมาดำเนินคดีพร้อมส่งฝากขังศาลคัดค้านการประกันตัว

เคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุน้อยสุด 2. เหตุเกิด .หนองบัวลำภู แม่ร้องปวีณาแจ้งว่า วันที่ 22 ..64 ลูกสาว 1 ขวบ 8 เดือน ถูกตาแท้ๆ ล่วงละเมิดทางเพศ ตอนที่ไปเล่นบ้านตาเด็กกลับมาบอกแม่เจ็บที่อวัยวะเพศ แม่เชื่อลูกถูกกระทำเพราะตอนแม่อายุ 5-12 ปี ถูกพ่อข่มขืนแต่ไม่กล้าบอกใคร ปวีณา ประสาน ผกก.สภ.เมืองหนองบัวลำภู เร่งดำเนินคดีเคสข่มขืน/กระทำชำเรา ผู้เสียหายอายุมากสุด เหตุเกิด .สุราษฎร์ธานี หลานสาวร้องปวีณาวันที่ 13 ..64 แจ้งว่า ป้าวัย 68 ปี ถูกลูกเขยติดยาเสพติดข่มขืนขณะที่ไม่มีใครอยู่บ้าน ปวีณาประสานตำรวจ สภ.วิภาวดี ติดตามคดีเพราะผู้เสียหายกลัวไม่ปลอดภัย ตำรวจรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย ขณะที่หลานมารับผู้เสียหายไปอยู่ด้วยแล้ว  

 2. ปัญหาทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย จำนวน 994 ราย เฉลี่ยร้องทุกข์วันละ 2.72 ราย  

โดยมีผู้กระทำทารุณกรรมตามลำดับดังนี้

อันดับ 1 พบว่า สามีทำร้ายร่างกายมากที่สุด 267 ราย  คิดเป็น 26.86 %

อันดับ 2 พ่อแม่ 109 ราย คิดเป็น 16.37 %

จำแนกเป็นพ่อ 74 ราย  คิดเป็น 7.44 %

แม่ 40 ราย คิดเป็น 6.01%

อันดับ 3 คนรู้จัก 75 ราย  คิดเป็น 7.54 %

อันดับ 4 ญาติ 70 ราย  คิดเป็น 7.04 %

อันดับ 5 สามีเก่า/แฟนเก่า 67 ราย  คิดเป็น 10.06 %

อันดับ 6 พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง 43 ราย คิดเป็น 6.45 %

จำแนกเป็นพ่อเลี้ยง 32 ราย คิดเป็น 4.80 %

แม่เลี้ยง 11 ราย คิดเป็น 1.65 %

 ช่วงอายุเหยื่อที่ถูกกระทำ

อันดับ 1 อายุ 40 ปี ขึ้นไป จำนวน 141 ราย คิดเป็น 14.19 %

อันดับ 2 อายุ 5-10 ปี จำนวน 104 ราย คิดเป็น 10.46 %จำแนกเป็น

แรกเกิด-5 ปี จำนวน 36 ราย คิดเป็น 3.62 %

-5-10 ปี จำนวน 68 ราย คิดเป็น 6.84 %

 ภูมิภาคที่เกิดเหตุเรียงลำดับดังนี้

1.ภาคกลาง 357 ราย

2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 128 ราย

3.ภาคใต้ 88 ราย

 เคสทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายอายุน้อยสุด เป็นเด็กชายวัย 8 เดือน เหตุเกิดใน.ระยอง แม่ร้องปวีณาวันที่ 21 ..64 พ่อแม่ นำลูกไปฝากเลี้ยง เด็กร้องงอแงพี่เลี้ยงใช้เท้าเตะที่ศีรษะ 3 ครั้ง จนเขียวบวมปูด ซึ่งพี่สาววัย 6 ขวบ ที่ฝากเลี้ยงด้วยกันเห็นเหตุการณ์ปวีณา ประสานตำรวจ สภ.ปลวกแดง .ระยอง ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง

 เคสทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายอายุมากสุด เหตุเกิดใน .นครพนม พลเมืองดีแจ้งปวีณาวันที่ 9 มี..64 คุณยายอายุ 84 ปี เป็นอดีตข้าราชการครู ถูกลูกชายบุญธรรมที่เก็บมาเลี้ยงติดยาเสพติดทำร้ายทุบตี และยังแอบเอาบ้านแม่ไปขายจนแม่ต้องไปอาศัยบ้านคนอื่นอยู่แต่ก็ยังตามรังควานมาขอเงินไปซื้อยาเสพติดเมื่อไม่ได้ก็ทุบตีแม่ ปวีณา ประสานตำรวจสภ.ศรีสงคราม จับกุมตัวลูกบุญธรรมไปบำบัดก่อนดำเนินคดีตามกฎหมาย และส่งคุณยายยายไปรักษาที่โรงพยาบาล

 3.ปัญหาค้ามนุษย์/ค้าประเวณี จำนวน 96 ราย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 จำแนกออกเป็นค้าประเวณีในประเทศ 20 ราย และค้ามนุษย์/ค้าประเวณีต่างประเทศ 76 ราย*ซึ่งในประเทศจะเป็นลักษณะแจ้งเบาะแสเด็กถูกเพื่อนชักชวนไปค้าประเวณี *สำหรับต่างประเทศจะเป็นกรณีที่ผู้หญิงถูกหลอกค้าประเวณีต้องการกลับประเทศไทย

 ประเทศที่ไปทำงานและขอความช่วยเหลือ ดังนี้บาร์เรน 31 รายดูไบ 15 รายกัมพูชา 10 ราย (ถูกหลอกไปทำงานในบ่อนการพนัน)โอมาน 4  ราย

ประเทศอื่นๆ จำนวน 36 ราย

 สำหรับปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ผ่านมาเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้มีการปิดประเทศการค้าประเวณีจึงลดลง ประกอบกับทางรัฐบาลได้เข้มงวดกวดขันในเรื่องการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง มูลนิธิปวีณาฯ ขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้หญิงที่คิดจะไปทำงานต่างประเทศโดยหวังว่าจะมีค่าตอบแทนสูง อย่าหลงเชื่อคนง่าย ต้องตรวจสอบให้ดีก่อน เพราะอาจจะถูกหลอกไปค้าประเวณีต้องตกนรกทั้งเป็น

 4.ปัญหาครอบครัว จำนวน 1,510 ราย ร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 4.13 ราย ทั้งนี้ปัญหาครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการแย่งบุตร ฟ้องหย่า และผู้หญิงท้องแต่ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ

 5.ปัญหายาเสพติด จำนวน 265 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติดคลุ้มคลั่ง มีอาการทางประสาท อาละวาดทำร้ายคนในบ้าน ญาติต้องการให้พาไปบำบัด

 6.ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 5,669 ราย มากขึ้นกว่าปี 2563 (3,088 ราย) ถึง 2,581 ราย เท่ากับมากขึ้น 45.52 % ร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 15.53 ราย

ที่ผ่านมาทางมูลนิธิปวีณาฯ ได้ให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด19 ดังนี้ 1.คนตกงานได้รับผลกระทบโควิด โดยมูลนิธิปวีณาฯ ได้ส่งถุงยังชีพไปให้แล้ว และยังมีอีกกว่า 1,000 รายที่ยังไม่ได้จัดส่ง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการในช่วงปลายปีนี้ และ 2.เคสผู้ป่วยโควิด19 ที่ขอความช่วยเหลือ มูลนิธิปวีณาฯ ได้ประสาน ศูนย์เอราวัณ ให้การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด 179 ครอบครัว จำนวน 338 คน

 มูลนิธิปวีณาฯ ขอขอบคุณภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน ที่ได้ร่วมบูรณาการทำงานร่วมกันจนสามารถช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และขอขอบคุณพลเมืองดีที่ช่วยกันแจ้งเบาะแส ร่วมกันให้ข้อมูลช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะปัญหาสังคมไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดงานหนึ่ง หากทุกคนช่วยกันปัญหาทุกอย่างจะเบาบางลงไปได้

 สำหรับผู้ที่ต้องการร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิปวีณาฯ สามารถติดต่อโทร. 1134, 02 577 0496, 02 577 0497, 02 577 0498, 02 577 0500, 02 577 0501 ในเวลาทำการ หรือโทรมือถือมูลนิธิปวีณาฯ หมายเลข 098 478 8991, 081 814 0244, 081 890 1355, 062 560 1636, 063 237 7327 เจ้าหน้าที่มูลนิธิปวีณาฯ ทุกคนจะรับเรื่องของท่านด้วยความยินดียิ่ง และท่านยังสามารถแจ้งเรื่องร้องทุกข์ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย

สุดท้าย เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ 2565 มูลนิธิปวีณาฯ ขอเป็นกำลังใจให้ ประชาชนทุกท่าน ได้รอดพ้นจากสถานการณ์โควิด-19 และมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุข มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

 มูลนิธิปวีณา ขอเรียนว่า จะปิดทำการตั้งแต่วันที่ 30 . 64 – 3 . 65  รวม 5 วัน หากท่านใดมีเรื่องด่วนขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อส่งข้อความมายังเฟซบุ๊กมูลนิธิปวีณาฯ ได้ทันทีตอด 24 ชั่วโมง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า