การเมือง

“อัตราดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ” เสมือนมะเร็งร้ายทางการเงิน ที่แพร่เชื้อลุกลามเข้าสู่ปวงชนที่ยากต่อการรักษา(3) **โดย พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ**

หนี้ของรัฐแทบทั้งหมดจะกู้เงินในประเทศ (รูปที่ 6) โดยผ่านเครื่องมือต่าง สามารถจำแนกฐานนักลงทุน ได้แก่ 1.) เครื่องมือพันธบัตรรัฐบาล และ ตั๋วเงินคงคลัง ประมาณร้อยละ 79 ที่เป็นการกู้จากนักลงทุนสถาบันผ่านตลาดตราสารหนี้ประกอบด้วย กองทุนรวม สถาบันการเงินบริษัทประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักประกันสังคม และนักลงทุนต่างประเทศ  2.) เครื่องมือตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญากู้ยืมเงิน ประมาณร้อยละ 15 ที่เป็นการกู้เงินโดยตรงจากสถาบันการเงิน ได้แก่ธนาคารของรัฐกับธนาคารพาณิชย์  และ 3.) เครื่องมือพันธบัตรออมทรัพย์ ประมาณร้อยละ 6 ที่เป็นการกู้เงินที่ระดมทุนจากภาคประชาชนเพื่อกระจายฐานนักลงทุนและกระทรวงการคลังควรส่งเสริมการออมของภาคประชาชน เพราะดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลจะสูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

จะเห็นว่านักลงทุนตามกลุ่มที่ 1)และกลุ่มที่ 2) ที่ให้จำนวนหนี้รัฐรวมกันมากถึงร้อยละ 94 นั้นแทบทั้งหมดเป็นกลุ่มธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นตัวกลางใช้เงินฝากประชาชนที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25-50 สตางค์ หรือร้อยละ 0.25-0.50 เอาไปให้รัฐกู้ดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 2.42-2.48 จะมีส่วนต่างกำไรค่อนข้างสูง มีความปลอดภัย ต้นทุนดูแลต่ำสถาบันการเงินจึงเป็นเสือนอนกินดีกว่าให้ SME หรือประชาชนกู้ ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ยิ่งเมื่อรัฐบาลกู้เงินเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อย จึงเป็นการช่วยคนรวยที่ร่ำรวยอยู่แล้วให้มั่งคั่งมากขึ้น เป็นการแย่งเงินทุนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะประชาชนและ SME ที่กำลังประสบปัญหาการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน สถาบันการเงินไม่ให้กู้เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง  รวมทั้งการกู้เงินภาครัฐดังกล่าว ตามสัดส่วนการกู้เงินของรัฐบาลผ่านการออกพันธบัตรในประเทศ (รูปที่ 7) อาจสร้างปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงินในอนาคต

การใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐ ที่น่าห่วงคือในแต่ละปีงบประมาณจะใช้จ่ายเงินลงทุนล่าช้าข้ามปีงบประมาณ ไม่โปร่งใส ขาดประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า และไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการเติบโตของ GDP ทำให้ประชาชนเสียโอกาส  ขณะเดียวกันต้องมีภาระดอกเบี้ยที่เดินหน้าไม่หยุด จากข้อมูลของสำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) พบว่า วันที่ 30 กันยายน 2564  พบว่าผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จากระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) กรมบัญชีกลาง งบประมาณจำนวน 3,285,962  ล้านบาทเศษ มีการเบิกจำนวน3,012,156   ล้านบาทเศษ หรือคิดเป็นร้อยละ 91.67  ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายรายจ่ายภาพรวม ร้อยละ 8.33 หรือมีงบประมาณคงเหลือจำนวน 273,806 แสนล้านบาทเศษ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า