“เชตวัน – วิโรจน์” ลุยสำรวจ “เวิ้งท่ารถรังสิต” พบปัญหาการออกแบบสัญจรที่ไม่คำนึงถึง “คน”
แต่ให้ความสำคัญกับ “รถ“ ด้าน “โฆษกพรรคก้าวไกล” อัดสร้างสะพานลอยเป็นแบบ“ตัด ปะผุ” ไปเรื่อย
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม เชตวัน เตือประโคน ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ปทุมธานี เขต 4 เผยแพร่คลิปวีดีโอพร้อข้อเขียนระบุว่า พา วิโรจน์” ลุย “เวิ้งท่ารถรังสิต” พบปัญหาการออกแบบสัญจรที่ไม่คำนึงถึง “คน” แต่ให้ความสำคัญกับ “รถ” และสะพานลอยที่ “ตัด ปะ ผุ” ไปเรื่อย ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของการพา วิโรจน์ ลักขณาอดิศร โฆษกพรรคก้าวไกล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค ร่วมเดินสำรวจเวิ้งท่ารถรังสิต
เชตวัน ระบุว่า สำหรับจุดประสงค์ที่อยากชวนให้ได้มาเห็นนั้นมีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญคือ หนึ่ง. เราต้องยอมรับตรงกันก่อนว่าเวิ้งท่ารถรังสิตมีปัญหา ที่เคยบอกว่ามาลองเดินแล้วใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมง จากนั้นก็มีคนนำไปโจมตี นำไปแซะไปแซวว่า เดินนานจัง แวะซื้อของทุกแผงเลยเหรอ นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญและยิ่งเป็นการเบี่ยงประเด็นหลักที่ต้องการชี้ให้เห็นปัญหาของพื้นที่ซึ่งเราต้องยอมรับว่ามันมีสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นฟุตบาทที่สภาพพังๆ แย่ๆ สะพานลอยที่ชันมากๆ คนแก่ คนพิการใช้งานไม่ได้ รวมถึงความไร้ระเบียบ ความสกปรก ซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นปัญหาเรื้อรังมานานมาก ถ้าใครบอกว่าเป็นความเคยชินที่ผ่านมาก็อยู่กันแบบนี้ ยิ่งเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ เราทำให้สิ่งผิดปกติเป็นความปกติของบ้านนี้เมืองนี้ไม่ได้ครับ
นายเชตวัน ระบุว่า อีกหนึ่งประเด็น.คือ ตลาดรังสิตเป็นตลาดเก่าแก่ แต่วันนี้ เวลาใครต่อใครขึ้นรถลงรถ แทบจะไม่เคยได้รับรู้เลยว่ามีตลาดอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ไม่เคยรับรู้เลยว่ามีของดี มีชุมชน มีผู้คนอยู่ เพราะคนเดินทางก็จะเทไปแต่อีกฝั่งคือฝั่งห้างสรรพสินค้า ฝั่งโรงภาพยนตร์ ซึ่งก็คือฝั่งนายทุน ที่สุดท้ายแล้วเงินทองก็จะเข้ากระเป๋านายทุน ขณะที่ตลาดรังสิตก็เงียบลงๆ ร้านรวงเริ่มติดป้ายเซ้ง หรือขายกิจการแล้วก็มีให้เห็นอยู่เช่นกัน
“ดังนั้น เราจึงอยากมาชวนมาช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบเวิ้งท่ารถรังสิตจากโจทย์ 2 ข้อนี้ คือ1.ทางเดินที่เหมาะกับทุกคน และ 2.เปิดพื้นที่สู่ตลาดรังสิต ซึ่งแน่นอนว่าสุดท้ายแล้วคนรังสิตก็ต้องมาร่วมกันออกแบบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ก็ต้องมาพูดคุยรับฟังเสนอความเห็นกันว่าจะจัดการอย่างไร อยากได้แบบไหน จะเป็นสกายวอร์คแบบที่แยกปทุมวันในกรุงเทพฯ หรือจะเป็นทางลอดใต้ดินแบบในประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ หรือจะมีทางอื่นที่ดีกว่า ต้องมาจากความต้องการขอประชาชนคนในพื้นที่” เชตวัน ระบุ
ขณะที่ วิโรจน์ กล่าวถึงจุดหนึ่งในเวิ้งท่ารถรังสิต ซึ่งเป็นสะลอยที่มีความชันและคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยข้ามสะพานลอยนี้ ว่า เรื่องสะพานลอย ต้องอย่าโทษว่าทำไมคนถึงไม่ขึ้นสะพานลอย แต่ต้องถามกลับว่า เราจำเป็นต้องมีสะพานลอยหรือไม่ เพราะอย่างตรงนี้ถ้าขึ้นไปแล้วจะพบว่าชันมาก ผู้สูงอายุขึ้นลำบาก สำหรับในส่วนของคนที่ข้ามถนน เราก็ต้องไม่ไปโทษว่าทำไมเขาไม่ใช้สะพานลอย เพราะแต่เดิมเราชอบสร้างความรู้สึกที่ว่า สะพานลอยเราสร้างให้คนหลบรถ แต่ถ้าเกิดเราให้ความสำคัญกับคนเป็นหลัก ควรทำทางม้าลาย และมีปุ่มกด มีไฟเขียวไฟแดงให้รถหยุดให้คนข้าม ขณะที่ก่อนจะถึงจุดข้าม ก็ควรต้องมีป้ายเตือน มีเส้นเตือนให้กับคนขับรถได้ระวัง
วิโรจน์ ยังชี้ชวนให้ดูป้ายจราจร ‘ระวังรถทางขวา‘ และตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ว่า นี่เป็นการจราจรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคน ไม่ใส่ใจคนเดินถนน เพราะทางที่ควรจะเป็นคือ ควรทำเป็นป้ายใหญ่ๆ แล้วบอกว่า ‘ระวังคนข้าม‘ ขณะที่เส้นจราจรก็ต้องทำเป็นเส้นซิกแซกเตือน เส้นที่บอกให้รู้ว่าเป็นจุดที่มีคนกำลังจะข้ามถนน มีเส้นหน่วงความเร็วเส้นที่ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนเพื่อทำให้คนขับรถรู้ตัว มีปุ่มกด มีไฟเขียวไฟแดง ให้รถหยุด ให้คนข้าม ตรงทางม้าลายอย่างปลอดภัย
“ดังนั้น แทนที่เราจะคิดว่าทำอย่างไรให้คนข้ามสะพานลอย ผมคิดว่าเรามาใส่ใจที่คนข้ามถนนทำให้คนข้ามอย่างปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องหลบรถ จะทำอย่างไรให้รถกับคนใช้ถนนร่วมกันอย่างปลอดภัย ได้โดยเอาคนที่เดินเป็นที่ตั้ง ถ้าทำได้ สะพานลอยนี้ ทุบเลย สะพานลอยบริเวณเวิ้งท่ารถรังสิต เห็นชัดเลยว่าเป็นการคิดแบบทีละต่อน เพราะถ้าเกิดคิดแบบโปรเจคเดียวก็คงจะเกิดทางเชื่อมที่ไม่ทำให้ต้องขึ้นแล้วลง ลงแล้วขึ้น และนี่ก็ไม่ได้คิดถึงคนข้ามถนนด้วย คือพอเมืองพัฒนาก็สร้างสะพานลอยหนึ่ง พัฒนาอีกก็สร้างอีกหนึ่งมาเชื่อม พัฒนาอีก็สร้างอันที่สามมาเชื่อม เลยเป็นการพัฒนาแบบสิ่งที่เรียกว่า “ตัด ปะ ผุ” วิโรจน์ กล่าว
https://fb.watch/a7E0-AkNrX/