เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว

ไทย-กานซูกับโอกาสความร่วมมือ ผ่านกิจกรรมสัมมนาเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าไทย-จีน (กานซู)

การมาเยือนนครหลานโจวครั้งนี้ ได้เห็นถึงศักยภาพของมณฑลกานซู ที่ไทยพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมกันแสวงหาความรุ่งเรืองที่ยั่งยืน หวังว่าเวทีการสัมมนาในครั้งนี้จะสามารถต่อยอดความร่วมมือไทยกานซู ไม่เพียงเฉพาะในมิติความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุน แต่อาจพิจารณาขยายไปยังการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีศักยภาพและความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครนายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทรเอกอัครราชทูตไทย กรุงปักกิ่ง กล่าวในปาฐกถาเปิดงานสัมมนาเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าไทยจีน (กานซู)

เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นประเทศเกียรติยศในงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนนครหลานโจวครั้งที่ 29 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น สถานกงสุลใหญ่ นครซีอานร่วมกับกรมพาณิชย์มณฑลกานซู สำนักงานการต่างประเทศมณฑลกานซู และศูนย์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจมณฑลกานซู จัดสัมมนาส่งเสริมอุตสาหกรรมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าขึ้น ซึ่งถือเป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ศักยภาพประเทศไทยครั้งแรกของมณฑลกานซู ที่มุ่งเชื่อมโยงทุกความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมณฑลกานซูให้มากยิ่งขึ้น



ภายในงานมีนายอรรถยุทธ์
ศรีสมุทร เอกอัครราชทูตไทย กรุงปักกิ่ง และนายหม่าถิงลี่ รองประธานสภาประชาชนแห่งมณฑลกานซู ร่วมเป็นประธานในพิธีพร้อมกล่าวสุนทรพจน์  พร้อมกันนี้ ได้รับเกียรติจากนางอรพินทร์ หาญชาญชัยกุล กงสุลใหญ่ นครซีอาน นางดลพร อัชววรกุล กงสุลการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน นครเซี่ยงไฮ้ นายเฉิน เฟิงเหยียน (Chen Fengyan) ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจมณฑลกานซู นายหม่า จี้หลิน (Ma Jilin) รองประธานบริหาร CP Group มณฑลกานซู นางเถียน ย่าหนาน (Tian Yanan) ผู้จัดการใหญ่บริษัท Lanzhou Foci International Business Co., Ltd และนายสยามณัฐ พนัสสรณ์ อนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นวิทยากรให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมงานชาวจีนมากกว่า 120 ราย

นอกจากนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านช่วงถามตอบ ซึ่งผู้ประกอบการชาวกานซูได้ให้ความสนใจในข้อมูลการลงทุนด้านอุตสาหกรรมแบตเตอรี่, การแลกเปลี่ยนสมุนไพรไทยจีน ตลอดจนโอกาสในการนำแนวคิดการใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และการขับเคลื่อนนโยบาย “Bio-Circular-Green Economy” หรือ BCG Model ของประเทศไทยมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายมณฑลแห่งอุตสาหกรรมสีเขียว(Green and Low Carbon Industrial) ของมณฑลกานซู นอกจากนี้ ภายนอกห้องประชุมยังได้มีการจัดส่วนประชาสัมพันธ์สินค้าท้องถิ่นของไทยและมณฑลกานซู อาทิผลิตภัณฑ์จากมันฝรั่ง, เห็ด, เก๋ากี้, ทุเรียนสดและแบบอบกรอบ, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวโดยสารสกัดธรรมชาติ, น้ำมันมะพร้าวสกัดสำหรับใช้กับร่างกาย, เครื่องปรุงรสและอาหารไทยกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการที่ร่วมงานเป็นจำนวนมาก

#FocusOnCLZITF #29CLZITF LanzhouTradeFair

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า