จีนศึกษา๑๘๓ ความร่วมมือจีน-อาเซียน
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ต่อความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียนและผลประโยชน์ของประเทศไทย กล่าวคือ
เขตบริหารพิเศษฮ่องกงเป็นหัวใจสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้เอเชียเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก และเป็นหัวหอกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือทางการค้าการลงทุนเคียงคู่ขนานกับการเชื่อมโยงเส้นทางยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) กับพันธมิตรในภูมิภาคอื่นของโลก รวมทั้งการขยับเพื่อปรับตัวของความร่วมมือใหม่ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง อาทิ การก่อตัวของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ระหว่าง ๑๐ ประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่มีจีนเป็นหัวหอกภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งพาดผ่านกลุ่มประเทศระหว่าง ๒คาบสมุทรอินเดียและแปซิฟิก
การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมอย่างไร้รอยต่อคือหัวใจสำคัญสูงสุดของ BRI โดยในอนาคต ความสำคัญที่มิได้ด้อยกว่าเลยคือการเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ และกรณีของประเทศไทยนั้น Belt and Road ได้แสดงให้เห็นผลอย่างชัดเจนในการสร้างประโยชน์เศรษฐกิจร่วมกัน จากการที่คณะนักลงทุนไม่ว่าจากแผ่นดินใหญ่ หรือจากฮ่องกงได้หลั่งไหลเข้ามาติดต่อ ประสานและลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเหล่านี้ย่อมมิได้จำกัดอยู่ที่ประเทศไทยเท่านั้น แต่จะขยายตัวครอบคลุมสู่ทั้งภูมิภาคเพราะความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ และหากเส้นทางรถไฟและเส้นทางคมนาคม เสร็จสมบูรณ์ การเชื่อมโยงของทั้งคนและสินค้าจะทวีขึ้นอย่างมหาศาล การเชื่อมโยงทางอินเทอร์เน็ตที่จะนำไปสู่การค้า e-Commerce การขยายตัวของ logistic ที่จะตามมา
ความสำเร็จของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำ ๕ ชาติแห่งลุ่มน้ำอิระวดีเจ้าพระยา และแม่โขง (ACMECS) ครั้งที่ ๘ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศ Master Plan ระหว่างสมาชิก ๕ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามและไทย (CLMVT) ไม่ใช่เพียงมีขนาดประชากรกว่า ๒๓๐ ล้านคน และจำนวนแรงงานมากกว่า ๑๓๐ ล้านคน เป็นทั้งตลาดและ supply chain ที่สำคัญในเอเชีย แต่ในห้วงเวลาที่ BRI กำลังเชื่อมโยงจีนลงใต้สู่อาเซียน ทำให้อาเซียนตอนบน หรือ ACMECS ได้กลายเป็นดินแดนที่อยู่ใจกลาง ที่สำคัญยิ่งทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาคดังนั้นเมื่อ greater bay area เป็นภูมิภาคที่อยู่ติดกับ ACMECS โดยตรง เส้นทางรถไฟจากจีนที่จะลงสู่ใต้จะเป็นการเชื่อมโยงประชาชนและธุรกิจระหว่าง ๒ ภูมิภาคโดยตรงหากมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างกันในระหว่าง ๒ อนุภูมิภาค ย่อมหมายถึงพลังร่วมที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีความคาดหวังว่า จะได้พัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใน EEC เช่นการขนส่งทางอากาศ รถยนต์รูปแบบใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ วิทยาศาสตร์ทางการเกษตรและชีวภาพ หุ่นยนต์ การแพทย์และการดูแลสุขภาพ วัสดุทางชีวภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและยกระดับของอุตสาหกรรมไทย
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com//politics/2017-08/03/c_1121428525.htm )