จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๕๑ แนวคิดจากแผนการพัฒนาแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีของจีน

แนวคิดจากแผนการพัฒนาแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีของจีน ซึ่งได้มีการนำเสนอเมื่อปี..๒๕๕๙ นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมการพัฒนาของจีน ที่น่านำมาประยุกต์ใช้กับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะการยืนหยัดในการอนุรักษ์ระบบนิเวศ รวมทั้งเน้นการปฏิรูปและการสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูง

     ทั้งนี้ แม่น้ำแยงซี หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ โดยแม่น้ำแยงซียาว ,๓๐๐ กิโลเมตร โดยเมื่อเดือน เม..๖๑ นายสี จิ้นผิงเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคฯ ได้เดินทางไปดูงานที่เมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนจุดศูนย์กลางของแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี โดยไปตรวจดูงานสภาพการย้ายวิสาหกิจเคมีออกห่างจากแม่น้ำแยงซี และการฟื้นฟูระบบนิเวศที่ท่าเรือต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมวัสดุใหม่ของกลุ่มบริษัทซิงฟา ซึ่งเป็นวิสาหกิจเคมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาวิสาหกิจของจีน ที่อยู่ในบริเวณเขื่อนซานเสีย ที่ต้องถูกย้ายออกจากริมแม่น้ำแยงซี โดยทางกลุ่มบริษัทฯ ได้รื้อถอนอุปกรณ์และท่าเรือริมแม่น้ำแยงซีต่างๆ ไปหมด โดยย้ายห่างจากริมแม่น้ำ ๙๕๐ เมตร รวมทั้งปลูกต้นไม้โดยรอบ ขณะเดียวกันทางบริษัทได้ปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ยกระดับอุตสาหกรรม และวางแผนระบบรีไซเคิล

     นอกจากนี้ นายสี จิ้นผิง ได้เน้นว่า

การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวต้องเข้าใจความสัมพันธ์ใน ประการ เป็นอย่างดีได้แก่

      ประการที่หนึ่ง ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการผลักดันในภาพรวมกับการบรรลุความสำเร็จในส่วนสำคัญ ของการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริเวณแม่น้ำแยงซี ที่ต้องยืนหยัดต่อระบบนิเวศ

      ประการที่สอง ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการอนุรักษ์ระบบนิเวศกับการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ได้ขัดแย้งกัน และการอนุรักษ์ระบบนิเวศจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจและรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ต้องยืนหยัดการพัฒนารวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน และไม่ควรให้สองปัจจัยนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

      ประการที่สาม ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนโดยรวมกับการใช้ความพยายามในระยะยาวไกล ดังนั้น การผลักดันการพัฒนาแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีที่เป็นโครงการใหญ่ จึงไม่อาจจะสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องมีการวางแผนระดับบนเป็นอย่างดี และปฏิบัติตามแผนการอย่างจริงจัง

      ประการที่สี่ ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการยกเลิกอุตสาหกรรมเก่ากับการพัฒนาแรงกระตุ้นใหม่ ในการสร้างแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีเป็นระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย โดยแรงกระตุ้นการพัฒนาจะเป็นปัจจัยที่กำหนดความเร็ว และประสิทธิภาพของการพัฒนา ซึ่งต้องผลักดันการปฏิรูปด้านอุปทาน รวมทั้งผลักดันปรับเปลี่ยนแรงกระตุ้นการพัฒนาของแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี เพื่อสร้างโอกาสให้เกิดแรงกระตุ้นการพัฒนาใหม่

      ประการที่ห้า ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเองกับการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งแถบเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจระบบน้ำ ระบบทางบก ท่าเรือ ริมฝั่งแม่น้ำอุตสาหกรรมและตัวเมือง ดังนั้น เขตต่างๆ และเมืองต่างๆ ริมแม่น้ำแยงซีต้องมองภาพรวม และพัฒนาร่วมกัน

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจากเว็บไซต์https://baike.baidu.com/item/%E9%95%BF%E6%B1%9F%E7%BB%8F%E6%B5%8E%E5%B8%A6/5453694 และเว็บไซต์ http://www.news.cn/politics/2021-10/20/c_1127977480.htm )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า