จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๔๖ ข้อเสนอความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนและท่าทีของไทย

ข้อเสนอต่อรูปแบบในมิติใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมทั้งบทบาทและท่าทีที่เหมาะสมของไทย กล่าวคือ

     รูปแบบใหม่ในการที่ทั้งจีนและสหรัฐฯ เน้นการรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการหาพื้นที่สำหรับการลงทุนร่วมกันเพื่อเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่ความร่วมมือในด้านความมั่นคงและด้านอื่นๆ ต่อไป โดยที่ทั้งจีนและสหรัฐฯ ควรมีการทบทวนและมีการหารืออย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ รวมทั้งเปิดใจกว้างที่จะให้แต่ละฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบกติกาในการจัดระเบียบของโลกใหม่ ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาคมโลก รวมถึงการส่งเสริมการทูตในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น

      สำหรับบทบาทและท่าทีที่เหมาะสมของไทยต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ โดยการรักษาทิศทางและระยะของการดำเนินความสัมพันธ์ทั้งต่อจีนและสหรัฐฯ อย่างได้สมดุล ในการเป็นสะพานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อันจะทำให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกัน โดยการใช้สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีความเกื้อกูลต่อการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง(Hub) ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งใช้จุดเด่นเรื่องขีดความสามารถในการประนีประนอมต่อประเด็นปัญหาข้อพิพาทด้านความมั่นคงเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี อาทิ ปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ เป็นต้น

     ส่วนประเด็นที่จะสนับสนุนการดำเนินยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไทยต่อจีนและสหรัฐฯ อย่างได้สมดุล อาทิ

      การกำหนดแผนงานแบบบูรณาการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ ความมั่นคงทางไซเบอร์ รวมทั้งความร่วมมือในด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน เป็นต้น

      การแสดงบทบาทนำในการเป็นเวทีกลางของการพบปะหารือระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมทั้งประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง โดยการจัดสัมมนาของหน่วยงานคลังสมอง เป็นต้น

ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

( ข้อมูลจาก Honggang, Wang. (2012). “Great Changes : Sino – U.S. Relations and Strategic Games” in Contemporary International Relations. Vol. 22, No.4 (July/August)., pp. 48-58. รวมทั้ง Laksmana, Evan A. (2009). The Preponderance of Geography : Revisiting America Grand Strategy in Asia. ASP Working Paper No.1/2009 American Studies Program, Institute of Security and International Studies (ISIS). และPeng, Yuan. (2012). “Some Strategic Thoughts on New Type China – U.S. Ties” in Contemporary International Relations. Vol. 22, No.4 (July/August)., pp. 27-47. )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า