จีนศึกษา๖๐ “ผลไม้ไทยส่งไปจีนอย่างไร?” (“泰国水果是怎么运来中国的 ?”)
๑. การส่งทางทะเล โดยทั่วไปจะใช้ตู้คอนเทนเนอร์แบบห้องเย็นเป็นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกส่งไปที่นครกว่างโจว (กวางเจา) เมืองเอกของมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) แล้วส่งต่อด้วยห่วงโซ่การแช่เย็นไปยังทุกส่วนของประเทศจีน ซึ่งระยะเวลาในการขนส่งทางทะเลโดยทั่วไปคือภายในหนึ่งสัปดาห์
๒. การขนส่งทางอากาศ เร็วที่สุด แต่ราคาสูงที่สุด เหมาะกับผลไม้ที่มีมูลค่าสูงและเก็บรักษายากซึ่งผู้ประกอบการมักใช้น้อย
๓. การขนส่งทางบก สามารถเลือกวิธีการขนส่งทางบกได้ ๓ วิธี ดังนี้
๓.๑ เส้นทางแรก เป็นถนน R9 โดยทางบก จากกรุงเทพฯ – ด่านมุกดาหาร – สะหวันนะเขตของลาว – ฮานอยของเวียดนาม – ผิงเสียงของจีน – ด่านมิตรภาพ – นครหนานหนิงของจีน โดยผ่าน ๓ ประเทศ หากขั้นตอนในแต่ละรอบราบรื่นก็สามารถเข้าถึงนครหนานหนิง (เมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือกวางสี) ได้ใน ๒ – ๓ วัน และมีค่าขนส่งประมาณ ๑๓,๕๖๖หยวนถึง ๑๕,๖๘๗ หยวน
๓.๒ เส้นทางที่สอง ใช้ถนน R3A และ R3B ที่เชื่อมประเทศไทย – เมียนมาร์ – มณฑลยูนนานของจีน ไปยังนครหนานหนิง เมืองเอกเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงของจีน
๓.๓ เส้นทางที่สาม จากประเทศไทยไปนครกว่างโจว (กวางเจา) มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางทะเล จะใช้เวลา ๔ – ๕ วัน และมีค่าขนส่งอยู่ที่ ๓,๘๕๗ หยวน – ๑๙,๒๘๘ หยวน หากเลือกการขนส่งทางบก จะใช้เวลาประมาณ ๑ – ๒ วัน จากการขนส่งทางถนนของประเทศไทยโดยใช้ถนน R12 และมีค่าขนส่งประมาณ ๑๓,๕๐๑ หยวน
บทสรุป ปัจจุบันการส่งผลไม้ไทยไปยังตลาดในประเทศจีน กระทำได้ทั้งทางทะเล ทางอากาศและทางบก โดยจะมีระยะเวลาในการขนส่งและต้นทุนของการขนส่งที่แตกต่างกันดังกล่าว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพิจารณาเลือกใช้บริการ
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://m.sohu.com/n/471753887/ )