ศรชล.ร่วมกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยกระดับการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย
วันที่ 17 มิถุนายน 2565 พลเรือเอกเถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์เสนาธิการทหารเรือและ เลขาธิการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (เลขาธิการ
ศรชล.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมาย ร่วมประชุมกับคณะสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพเรือ ชั้น 6 อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือพื้นที่วังนันทอุทยาน
โดยมี คุณ มงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและคณะ
ผู้แทนจากศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC)
ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาการด้านประมง ระหว่างประเทศ และผู้แทนจากมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม
(Environmental Justice Foundation : EJF) มาร่วมประชุมด้วย
พลเรือตรีอิทธิพัทธ์ กวินเฟื่องฟูกุล โฆษก ศรชล. กล่าวว่า EJF
ได้เสนอหนังสือเรียน พลเอกประวิตร
วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อขอขอบคุณสำหรับการให้เยี่ยมคารวะและมีประเด็นความคืบหน้าเชิงบวกในการปฏิรูปการประมงของไทยในปัจจุบันซึ่งมีผลกระทบกับพี่น้องชาวประมงจึงได้มอบหมายให้ พลเรือเอกเถลิงศักดิ์
สิริสวัสดิ์ เลขาธิการ ศรชล. ในฐานะประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายรับฟังปัญหาข้อเท็จจริงต่างๆ จากสมาคมประมงแห่งประเทศไทยในวันนี้เพื่อพิจารณาแนวทางการปฏิบัติของภาครัฐและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับบริบทและวิถีการทำประมงของประเทศไทย ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งจะทำให้การยกระดับการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย(IUU Fishing) บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด
สำหรับการประชุมสามารถนำประเด็นความคืบหน้าเชิงบวก ในการปฏิรูปการประมงจำนวน 4 ประเด็น และที่ประชุมได้พิจารณากำหนดแนวทางการปฏิบัติงานได้ ดังนี้
1. ประเด็นการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแล การติดตามควบคุม และเฝ้าระวัง ซึ่งประสานงานโดยทั้งกรมประมงและ ศรชล. ที่สามารถกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบายการประมงและแรงงานอย่างต่อเนื่อง ในการบังคับใช้ที่เป็นรูปธรรม ที่ประชุมได้มีแนวทางการปฏิบัติงานโดยจะยังไม่พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มเติม เนื่องจากกลไกที่ใช้ในการบริหารจัดการ ติดตามควบคุม และเฝ้าระวัง ครอบคลุมและครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง โดยเฉพาะศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (Port In Port Out Controlling : PIPO) คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย จะได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ พิจารณาใน 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1.1 เพิ่มอัตรากำลังพลในศูนย์ PIPO โดยเพิ่มกำลังพลจากศรชล.และกองบังคับการตำรวจน้ำ
1.2 เพิ่มชุดตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานศูนย์ PIPO (ชุด FIT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO
2.ประเด็นการประเมินผลกระทบความเสียหายโดยเรืออวนลากที่มีประสิทธิภาพสู งโดยขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนด้วยความระมัดระวัง เพื่อลดกองเรือดังกล่าว โดยมุ่งเน้นไปที่เรือลากคู่เป็นการเฉพาะ ให้การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการประมง ของประเทศไทยพ.ศ 2563 -2565
(Fisheries Management plan 2020-2022)
3. ประเด็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบติดตามเรือผ่านดาวเทียม (Automatic Indentification System : SIS) สำหรับเรือประมงพาณิชย์ของไทย ซึ่งความตั้งใจของ EJF คือการติดตั้งให้กับเรือประมงพาณิชย์ที่มีขนาดต่ำกว่า 30 ตัน กรอสส์
อย่างไรก็ตามกรมสรรพสามิตในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลเรื่องเรือให้บริการตามโครงการน้ำมันเขียว ได้กำหนดมาตรการให้เรือติดตั้งระบบ AIS ซึ่งขณะนี้ กรมสรรพสามิตยังมิได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาดเรือแต่อย่างใด สำหรับประเด็นนี้ที่ประชุมจึงให้กรมประมงกรมเจ้าท่ากรมสรรพสามิต สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ร่วมกับ EJF หารือให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติต่อไป
4. ประเด็นการเร่งพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานมาตรฐาน (Standard Operating Procedure : SOP) สำหรับชาวประมงที่สูญหายกลางทะเล
สำหรับในประเด็นนี้เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหลายหน่วยงาน และเกี่ยวข้องกับสิทธิการชดเชยต่างๆ ให้กับผู้ประสบเหตุหรือทายาทในกรณีที่ผู้ประสบเหตุเสียชีวิต
ดังนั้น ที่ประชุมจึงให้ศรชล.เป็นเจ้าภาพหลักดำเนินการหารือร่วมกับ
กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และหน่วยที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางปฏิบัติชาวประมงที่สูญหายกลางทะเลต่อไป
“ศรชล.ทุกนายมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ อย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความรัก ความสามัคคีความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยสติรู้ตัว ปัญญารู้คิด
เพื่อผลประโยชน์ทางทะเลแก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มเปี่ยม