จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๔๘ จีนกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย

ความสนใจของนักธุรกิจจีนที่มีต่อระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย อันเกิดจากความมุ่งมั่นที่จะยกระดับท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นเมืองการบินพร้อมกับสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ทำให้สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ได้ภายใน ชั่วโมง

     โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกถือเป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของ EEC มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ เชื่อมท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง ท่าอากาศยานสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง๒๐๐ ล้านคนต่อปี

      นอกจากนี้ โครงการฯ จะทำให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation” รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของมหานครการบินภาคตะวันออกที่จะครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ ๓๐ กิโลเมตรโดยรอบท่าอากาศยาน (พัทยาถึงระยอง) ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศไทย  โดยเข้าเชื่อมโยงเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออก ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้สะดวกทั้งทางน้ำ ทางบกและทางอากาศ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย

     ปัจจัยดังกล่าวมีผลในการดึงดูดนักธุรกิจชาวจีนให้สนใจในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการขยายท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยเฉพาะธุรกิจการบินในการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว เพื่อรองรับต่อการเป็นเมืองการบิน อันทำให้สามารถเชื่อมโยงจีนกับภูมิภาคอาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง (Hub)

    ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.codafair.org/index.php?m=content&c=index&a=show&catid=112&id=1925 )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า