จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๐๙ ปัญหาหมู่เกาะ

กรอบแนวคิดของจีนต่อความร่วมมือทางทะเล ซึ่งระบุไว้ในสมุดปกขาวเกี่ยวกับนโยบายว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิก

    . สถานการณ์ภาพรวมทางทะเลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เพราะทุกฝ่ายยังคงมีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีฉันทามติที่จะดำรงรักษาสันติภาพ ความมั่นคงและเสรีภาพในการเดินเรือ รวมทั้งการใช้เส้นทางบิน แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาจากภัยคุกตามต่อความมั่นคงทางทะเลในรูปแบบใหม่ อาทิ ปัญหาโจรสลัด ปัญหาการลักลอบนำเข้าสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ และปัญหาการค้ามนุษย์ ฯลฯ ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางทะเล

    . จีนเรียกร้องให้มีความร่วมมือให้มีความช่วยเหลือระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านความมั่นคงทางทะเลร่วมกัน โดยยึดถือแนวทางการปฏิบัติของกฎบัตรสหประชาชาติ และหลักการพื้นฐานของกฎหมายทางทะเล ทั้งที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายใหม่ทางทะเล รวมถึงอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ..๑๙๘๒ (United Nations Convention on the Law of the Sea, 1982 : UNCLOS) และหลักการพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติห้าประการ

    . จีนมีสิทธิ์เหนือหมู่เกาะหนานชา (หรือหมู่เกาะสแปรตลีย์) และน่านน้ำบริเวณใกล้เคียง แม้จะมีความขัดแย้งกับชาติอื่นที่อ้างสิทธิ์เช่นกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของจีน ที่จีนจะต้องปกป้องดินแดนและน่านน้ำของจีนตลอดจนผลประโยชน์ของชาติ แต่จีนมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ดังกล่าวโดยสันติ และยอมรับการเจรจาปรึกษาหารือ เพื่อนำมาซึ่งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา เช่น จีนกับอาเซียนมีการติดต่อสื่อสารและเจรจาหารือกันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับปัญหาในทะเลจีนใต้ ซึ่งกำลังมีความก้าวหน้ามากขึ้นจากการร่วมมือกันดำเนินการตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) ซึ่งริเริ่มขึ้นตั้งแต่ ..๒๐๐๒(..๒๕๔๕) ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติเป็นระเบียบปฏิบัติ (Code of Conduct – COC) อย่างเป็นทางการต่อไป เพื่อการมีเสถียรภาพและการรักษาความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคนี้

    . ปัญหาหมู่เกาะเตี้ยวหวี (Diaoyu) และการแบ่งเขตทางทะเลในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งจีนกับญี่ปุ่นยังคงมีการเจรจาหารือในระดับสูงตลอดมา โดยจีนยืนยันว่า หมู่เกาะเตี้ยวหวีอยู่ในอำนาจอธิปไตยของจีนจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และความชอบธรรมพื้นฐาน แต่ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างเห็นพ้อง ในการดำรง การติดต่อสื่อสารเพื่อบริหารจัดการกับวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยฉันทามติร่วมกัน อาทิ การควบคุมทางอากาศและทางทะเล การบังคับใช้กฎหมายทางทะเล การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การค้นหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการประมง เป็นต้น ทั้งนี้จีนแสดงเจตนารมณ์ที่จะใช้การเจรจาปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหากับญี่ปุ่น นอกจากนี้ ในเดือน ..๕๘ จีนกับเกาหลีใต้ก็ได้บรรลุข้อตกลงในการแบ่งเขตทางทะเลและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

     

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

(ข้อมูลจากเว็บไซต์http://english.www.gov.cn/archive/white_paper/2017/01/11/content_281475539078636.htm )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า