จีนศึกษา

จีนศึกษา๑๐๖ นโยบายของจีนต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก

         . ส่งเสริมพื้นฐานในการพัฒนาร่วมกันและเคียงข้างกันทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะการเร่งกระบวนการในการรวมกันทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างเขตเสรีทางการค้าและการเชื่อมโยงกันอย่างรอบด้าน ในการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ..๒๐๓๐ (..๒๕๗๓) เพื่อลดช่องว่างของความแตกต่างจากการพัฒนาในภูมิภาคนี้ อันเป็นผลประโยชน์ของประเทศต่างๆ ด้วยการประสานสอดคล้องในการปฏิบัติ ซึ่งจีนได้ผลักดันกิจกรรมส่งเสริมเรื่องดังกล่าว โดยดำเนินการโครงการตามข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) รวมทั้งได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย(Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund)

         .ร่วมกันส่งเสริมการสร้างการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ และความเข้มแข็งบนพื้นฐานทางการเมืองเพื่อการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ซึ่งกุญแจที่มีสำคัญคือ การดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคกันและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากความร่วมมือกัน โดยจีนจะทำงานร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ของประเทศใหญ่ในการลดความขัดแย้งและไม่เผชิญหน้ากัน มีความเคารพต่อกันและร่วมมือกัน นอกจากนี้ จีนเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่รอบด้านและมีความร่วมมืออย่างลึกซึ้งกับรัสเซีย และได้สถาปนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอินเดีย รวมทั้งการผลักดันเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น ทั้งนี้ ผู้นำจีนมีความมุ่งมั่นต่อแนวคิดของการเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ดังที่จีนได้สร้างการเป็นประชาคมร่วมกับประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน เช่น ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำหลันชาง (ล้านช้าง)-แม่น้ำโขงเป็นต้น เช่นเดียวกับความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยรวม

         . ร่วมกันทำให้มีทางออกที่ดีขึ้นของภูมิภาคโดยมีกลไกพหุภาคี รวมทั้งกรอบความร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งสำหรับสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการมีระบบความมั่นคงร่วมกันหลายฝ่าย และต่อต้านการมีอำนาจแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจีนสนับสนุนความร่วมมือที่ใกล้ชิด เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและขยายความร่วมมือในการเจรจาหารือด้านความมั่นคงผ่านกลไกต่างๆ เช่น องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization: SCO), Six-Party Talks, Xiangshan Forum, China-ASEAN Ministerial Dialogue on Law Enforcement and Security Cooperation and Center for Comprehensive Law Enforcement and Security Cooperation in the Lancang-Mekong Sub-Region เป็นต้น นอกจากนี้ จีนสนับสนุนการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia: CICA) เพื่อเป็นกลไกในการเจรจาหารือและความร่วมมือ

         . ร่วมกันสร้างกฎระเบียบเพื่อพัฒนาความเป็นสถาบันของการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยึดมั่นในการปกครองโดยกฎหมายเป็นบรรทัดฐาน และการยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติเป็นพื้นฐานด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยจีนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม บนพื้นฐานของ กฎหมายระหว่างประเทศ ดังที่จีนร่วมกับอินเดียและเมียนมาในการริเริ่มหลักการพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติห้าประการ (Five Principles of Peaceful Coexistence) ในปี ..๑๙๕๔ (..๒๔๙๗) เป็นต้น นอกจากนี้ จีนและอาเซียนได้ร่วมมือกันในการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (the Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญการเจรจาโดยถือเป็นระเบียบปฏิบัติอย่างเป็นทางการ (Code of Conduct: COC) ต่อไป

          . ร่วมกันแลกเปลี่ยนทางการทหารและความร่วมมือที่จะเป็นหลักประกันต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยจีนเข้ามีส่วนร่วมในความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ และยึดหลักพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติห้าประการ รวมทั้งการดำเนินการเพื่อความร่วมมือ ในการลดการเผชิญหน้าทางทหาร โดยเฉพาะส่งเสริมการมีกลไกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางทหารบนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน ความเสมอภาคกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกัน และความร่วมมือเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกัน โดยจีนยึดมั่นในการเจรจาหารือเพื่อความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ความร่วมมือในภารกิจ การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ การปฏิบัติการเพื่อการบรรเทาภัยพิบัติ ตลอดจนการฝึกและศึกษาทางทหารร่วมกับประเทศต่างๆ

         . ร่วมกันแก้ไขปัญหาความแตกต่างและข้อพิพาทอย่างถูกต้อง เพื่อดำรงรักษาสภาพแวดล้อมของสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยร่วมกันหาทางออกของปัญหาอย่างสันติ มีการเจรจาหารือ รวมทั้งปรึกษากันด้วยความเคารพและเข้าใจในความแตกต่างซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะหลักพื้นฐานและกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายเพื่อความมั่นคงทางทะเลใหม่ ตลอดจนอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล เป็นต้น

       ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

(ข้อมูลจากเว็บไซต์http://english.www.gov.cn/archive/white_paper/2017/01/11/content_281475539078636.htm )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า