ภูมิภาค

ประเพณี 7 เป็ง ไหว้พระธาตุท่าล้อ ปีนี้พิเศษตรงกับเทศกาลสงกรานต์ เตรียมงานสุดอลังการ์

 

ตื่นตาตื่นใจสองฝั่งแม่น้ำน่าน แห่งเดียวในประเทศ จุดกลางน้ำน่านมากกว่า 60 บอกไฟดอกแถมพลุอีก 117 ลูก สว่างไสวเบิกฟ้าปีใหม่ไทย

นายสักก์สีห์ พลสันติกุล รองประธานหอการค้าจ.น่าน เลขาสภาวัฒนธรรมจ.น่าน ในฐานะประธานการจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุประจำปี 7 เป็ง นมัสการพระธาตุท่าล้อ .ฝายแก้ว  .ภูเพียง  .น่าน และพระครูมานิตนันทวงศ์  (ศราวุฒิ มุนิวังโส) เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ เปิดเผยถึงการจัดงานในปี 2565นี้ว่า จะเป็นงานที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกๆ ปี เนื่องจากตรงกับประเพณีสงกรานต์ในคราวเดียวกันด้วย โดยเราตั้งใจจัดกิจกรรมเพื่อรักษาประเพณีนี้ไว้ทุกปี ร่วมมือกับฝั่งวัดฝั่งบ้านปีนี้พิเศษคือวันครบรอบเดือน 7 เป็ง ขึ้นพระธาตุท่าล้อ ตรงกับเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่เมือง จึงมี 2 กิจกรรมควบรวมกัน

ปีนี้จะได้มีกิจกรรมหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 – 14 – 15 เมษายน ส่วนวันที่ 16 ถือเป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ภาคเช้าทำบุญตักบาตร ถวายผ้าห่มสรงน้ำพระธาตุ เป็นประจำทุกปีตั้งแต่โบราณกาลนานมา เราจะจุดบั้งไฟดอกถวายเป็นประเพณี หลังจาก 5-6 ปีหลัง เราย้ายจากบริเวณลานวัดไปจุดที่กลางแม่น้ำน่าน เป็นกิจกรรมใหม่ของเมืองน่านที่เป็นสีสัน และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ มีแห่งเดียวของประเทศด้วยนายสักก์สีห์กล่าว

ขณะที่พระครูมานิตนันทวงศ์ กล่าวว่า ถือเป็นกิจกรรมของชุมชนท่าล้อมีส่วนร่วม 100% มีความเข้มแข็งและตั้งใจจัดอย่างเต็มที่ มีพลุ 117 ลูก และบั้งไฟบูชาก่อนการแข่งขัน 14 กระบอก โดยมีคณะศรัทธาต่างบ้านจากจ.แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย มาร่วมกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิดระบาดไม่มีใครจุด เช่นประเพณี 6 เป็งที่ผ่านมาก็มีประมาณ 30 กระบอกเท่านั้น ปีนี้เราสร้างสะพานไปแสดงที่กลางแม่น้ำน่าน คาดว่าพิธีจุดซึ่งจะเริ่มเวลา 2 ทุ่มเป็นต้นไป จะมีความสวยงามอย่างยิ่ง เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม การจัดงานดังกล่าวห้ามไม่ให้มีการสาดน้ำและงดเครื่องดื่มแอลกอร์ฮอล์ รวมถึงมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวดโดยจัดในพื้นที่โล่ง ลดความใกล้ชิด กลุ่ม 608 ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนขออย่าร่วมกิจกรรม เป็นต้น เพื่อความอุ่นใจ New Normal

ทั้งนี้ บอกไฟที่นิยมจุดบูชาในช่วงประเพณียี่เป็ง เน้นที่เกิดประกายแสงงดงาม เพราะใช้จุดในเวลากลางคืน ตั้งแต่พระอาทิตย์ลับฟ้าเป็นต้นไป บอกไฟที่นิยมจุด ได้แก่ บอกไฟยิง บอกไฟข้าวต้ม บอกไฟดอก บอกไฟดาว บอกไฟบะขี้เบ้า หรือบอกไฟน้ำต้น การทำบอกไฟแต่ละชนิดมีสูตรซึ่งแตกต่างกันไปตามสูตรของสล่าหรือช่างแต่ละคน

บอกไฟดอก เป็นบอกไฟที่ไม่ค่อยมีอันตราย จึงเป็นที่นิยมทำกันแทบทุกวัดในล้านนา ดังนั้น จึงมีสูตรการทำบอกไฟขึ้นหลายสำนัก เกิดจากการทดลอง และลองผิดลองถูกของพระภิกษุสามเณร เพื่อให้เกิดดอกและสีที่สวยงาม บอกไฟดอกมี ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงามและประเภทโลดโผน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า