จีนศึกษา

จีนศึกษา๙๙ หารือไทย-จีน

การหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทยจีน เพื่อเป็นเวทีอย่างเป็นทางการสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารือ โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือครั้งที่ เมื่อวันที่ ๑๘๒๐ ..๕๖ ที่กรุงเทพฯ และจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ เมื่อวันที่ ๑๐๑๑  ..๕๗ ที่กรุงปักกิ่ง ส่วนการประชุมหารือ ครั้งที่ ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙๓๑ มี..๖๐ ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้มีวาระพิเศษในการหารือเพื่อจัดทำร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทยจีน (Joint Plan of Action on Thailand – China Strategic Cooperation) ฉบับที่ ..๒๐๑๗๒๐๒๑ (..๒๕๖๐๒๕๖๔) เพื่อทดแทนแผนฯ ฉบับที่ (..๒๕๕๕๒๕๕๙) ที่เพิ่งหมดอายุลง สำหรับการประชุมหารือ ครั้งที่ โดยจีนเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ ..๖๒ กรุงปักกิ่ง รวมทั้งการประชุมหารือ ครั้งที่ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งล่าสุด จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ ..๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายธานี ทองภักดีปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และนายอู๋ เจียงฮ่าว ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานร่วม

     ในการประชุมหารือครั้งล่าสุดดังกล่าวนั้น ที่ประชุมได้ทบทวนความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างไทยจีน นับตั้งแต่การหารือ ครั้งที่ และติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทยจีน ฉบับที่ (.. ๒๕๖๐๒๕๖๔) รวมถึงหารือเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคีภายหลังสถานการณ์โควิด๑๙ โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันด้วยการลงนามในสัญญา . ของโครงการความร่วมมือรถไฟไทยจีน

     นอกจากนี้ ฝ่ายไทยขอบคุณฝ่ายจีนสำหรับความร่วมมือในการจัดหาและการบริจาควัคซีนต้านโควิด๑๙ ให้กับไทย ขณะที่ฝ่ายจีนแสดงความพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านนี้กับฝ่ายไทย รวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อพัฒนาให้ไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีน ซึ่งที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด๑๙ ผ่านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน รวมถึงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) การอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามแดน และการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) กับเขตอ่าวกวางตุ้งฮ่องกงมาเก๊า (GBA) รวมถึงการสนับสนุนความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ของรัฐบาลไทยกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๔ ระยะ ปีของรัฐบาลจีน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียว ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการลดความยากจน และที่สำคัญคือ ฝ่ายไทยได้แสดงความหวังว่าฝ่ายจีนจะพิจารณาคำขอให้สายการบินของไทยกลับมาทำการบินเชิงพาณิชย์ในจีน และอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาไทยในการเดินทางกลับไปศึกษาต่อที่จีนในโอกาสแรกอีกทั้งที่ประชุมสนับสนุนให้เร่งรัดหาข้อสรุปการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทยจีน ฉบับที่ (.. ๒๕๖๕๒๕๖๙) และร่างแผนความร่วมมือไทยจีนว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ให้แล้วเสร็จภายในปี ..๒๕๖๔

     ทั้งนี้ ฝ่ายจีนได้สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APEC) ของฝ่ายไทยในปี ..๒๕๖๕

ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://cpc.people.com.cn/big5/n1/2019/1107/c419242-31441727.html และเว็บไซต์ https://lawinfochina.com/display.aspx?id=7944&lib=tax&SearchKeyword=&SearchCKeyword= รวมทั้งเว็บไซต์https://www.mfa.go.th/th/content/sdthailandchina25052021?cate=5d5bcb4e15e39c306000683d )

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า