จีนศึกษา๕๗ “เส้นทางสายไหมทางทะเล”
ข้อมูลเกี่ยวกับนายหวัง ฉีซาน รองประธานาธิบดีจีน (国家副主席王岐山) ได้กล่าวสุนทรพจน์ผ่านทางวิดีโอในการประชุมระดับสูงของการประชุมสุดยอด “หนึ่งมหาสมุทร“ (“一个海洋”) เมื่อวันที่ ๑๑ ก.พ.๖๕ ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส และมีประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ในฐานะประธานหมุนเวียนของสหภาพยุโรป เป็นประธานการประชุม โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. นายหวัง ฉีซาน กล่าวว่า มหาสมุทรเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการอยู่รอดและการพัฒนาของมนุษย์ และ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” (“海上丝绸之路”) ในประวัติศาสตร์คือภาพที่ชัดเจนของผู้คนในประเทศต่าง ๆ ตลอดทางผ่านการแลกเปลี่ยนในมหาสมุทรและความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินหน้าสานต่ออดีตและก้าวไปข้างหน้า ริเริ่มสร้างประชาคมทางทะเลที่มีอนาคตร่วมกันและสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่๒๑ (建海洋命运共同体、建设21世纪海上丝绸之路倡议。) จีนเต็มใจที่จะเชื่อมต่อและประสานความร่วมมือกับ “ประชาคมทางทะเลระหว่างประเทศ” (“国际海洋共同体”) ของฝรั่งเศส ตลอดจนโครงการริเริ่มระดับทวิภาคีและพหุภาคีอื่น ๆ
๒. นายหวัง ฉีซาน เน้นย้ำว่า จำเป็นต้องร่วมกันสร้างอารยธรรมนิเวศวิทยาทางทะเล ดำเนินการตาม “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติปี ๒๐๓๐” (“联合国2030年可持续发展目标”) เพื่อสร้างพันธมิตรสีน้ำเงิน (打造蓝色伙伴) เสริมสร้างการป้องกันและควบคุมมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล และคำนึงถึงการพัฒนาและการปกป้องมหาสมุทร ร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (推动蓝色经济发展) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดวางเชิงพื้นที่ของเศรษฐกิจทางทะเล ส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียนทางทะเลอย่างมีระเบียบ รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมการเดินเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล โดยร่วมกันเสริมสร้างธรรมาภิบาลในมหาสมุทรทั่วโลกให้ยึดถืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (联合国海洋法公约) และกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ ซึ่งก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในทะเลที่อยู่นอกเหนือเขตอำนาจของชาติ และประเทศที่พัฒนาแล้วควรส่งต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนาเทคโนโลยีทางทะเลเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแบ่งปันผลประโยชน์ต่าง ๆ ของทรัพยากรพันธุกรรมทางทะเล โดยจีนยินดีที่จะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความร่วมมือระหว่างประเทศในการใช้พลังงานชายฝั่งสำหรับเรือในการเดินทางระหว่างประเทศ
บทสรุป นายหวัง ฉีซาน กล่าวในตอนท้ายว่า จีนเป็นผู้สนับสนุนการพัฒนามหาสมุทรที่ยั่งยืนเป็นผู้สร้างธรรมาภิบาลมหาสมุทรโลก และเป็นผู้พิทักษ์ระเบียบมหาสมุทรสากลมาโดยตลอดซึ่งจีนจะทำงานร่วมกับประเทศอื่น ๆ เพื่อสร้างมหาสมุทรที่สงบสุข มหาสมุทรที่ร่วมมือกัน และมหาสมุทรที่สวยงาม
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.huaxia.com/c/2022/02/12/1008632.shtml )