กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จับมือ บพข.และมข. เปิดตัว FPS แพลตฟอร์มบริการอัจฉริยะ

ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับชาวไร่อ้อย จากเดิม 10 ตันต่อไร่เป็น12 ตันต่อไร่ ในราคาต้นทุนสุดถูก ยกระดับเกษตรอุตสาหกรรม ที่พร้อมให้บริการแก่ชาวไร่อ้อยแล้ววันนี่

เมื่อเวลา 14.00 .วันที่ 23 มิ..2565 ไร่สาธิตคณะเกษตรศาสตร์ หมวดวิชาพืชไร่ แปลงที่ A11 นายณัฐพล  รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย.ดร.ธิดารัตน์  บุญมาศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น,รศ.ดร.ธงชัย  สุวรรณสิชณน์รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัยหน่วยบริหารละจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. ลงพื้นที่ชมการสาธิตนวัตรกรมใหม่ เครื่องผสมผสมสารอัตโนมัติ โดรนฉีดพ่นอัจฉริยะและชุดติดตามการทำงานของเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นผลงานวิจัย ร่วมระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม,บพข.,มข. และบริษัทเอกชน สำหรับการใช้ในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรประเภทอ้อยท่ามกลางความสนใจจากนักวิชาการและเกษตรกรเข้าร่วมชมการสาธิตผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

นายณัฐพล  รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือดีพร้อม(DIPROM)  ได้กำหนดแผนงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจุบันพบว่าชาวไร่อ้อยกำลังเผชิญกับปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมคุณภาพรวมถึงปริมาณในการเก็บเกี่ยวได้ ประกอบกับปัญหาเรื่องคุณภาพของอ้อยที่ต่ำกว่าเกณฑ์และมีความหวานไม่คงที่ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อตันสูงขึ้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลลดลงกรมฯจึงได้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีบทบาท ในการพัฒนาการเกษตรของไทยให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ผ่านการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมมาเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและเวลาให้กับภาคการเกษตร รวมถึงบูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชน จนนำไปสู่ผลงานวิจัยแพลตฟอร์มบริการ FPS หรือField Practice Solution ขึ้นได้อย่างสำเร็จ ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถที่จะประมวลผลเพื่อสร้างแผนที่ผลผลิตและแผนที่การระบาดของโรคพืชจากภาพถ่ายทางอากาศมีระบบประมวลผลเพื่อสร้างฐานข้อมูลในระบบภูมิสารสนเทศ จากแผนที่ผลผลิต

ขณะเดียวกันยังคงมีระบบผสมผสารและบรรจุลงถังแบบบรรจุอัตโนมัติสำหรับโดรน ระบบฉีดพ่นสารเคมี แบบแปรผันอัตโนมัติติดตั้งบนโดรนชุด Mobile-KIT และ Mobile Application สำหรับระบุพิกัดแปลงและติดตามกิจกรรมในแปลง รวมทั้งระบบ AI สำหรับเสนอแนะแผนการทำงาน บันทึกและแสดงผลการทำงานของเครื่องจักรกลเกษตร และแนะนำการให้ปุ๋ยแบบแม่นยำสูงรายแปลงอัตโนมัติซึ่งระบบจะช่วยเรื่องการตัดสินใจในงานบำรุงรักษาเก็บเกี่ยวและเชื่อมโยงกับระบบตรวจวัดรวมทั้งมีระบบที่จะสามารถรองรับคำสั่งเพื่อให้เกิดการปรับการปฎิบัติงานในฟาร์มไปตามแผนงานใหม่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการออกแบบแปลงการปลูก การบำรุงรักษาและอารักขาพืช รวมทั้งการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และสามารถปรับรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละรายหรือพืชแต่ละชนิด  และเมื่อนำมาทดสอบการใช้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 20 หรือคิดเป็นประมาณ 50 ล้านบาทต่อปีต่อโรงงาน

รศ.ดร.ขวัญตรี  แสงประชารักษ์อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. กล่าวว่า เกษตรกรที่ปลูกอ้อยทราบถึงปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตและต้องการลดรายจ่ายแต่ปัญหาคือที่ผ่านมายังไม่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใดๆ ที่เข้ามาช่วยเกษตรกรประเมินความเสี่ยงในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตในไร่อ้อยได้อย่างแม่นยำ จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์และแปลผลภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เพื่อนำข้อมูลที่จำเป็นไปสู่ขั้นตอนของการวิเคราะห์ และวางแผนการผลิต เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดการไร่อ้อยของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการ โดยร่วมกับทีมวิจัยของ บพข.,บริษัท เอชจี โรโบติกส์จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบAI และ .โกลบอล ครอปส์ จำกัดด้วยการนำโดรนมาใช้ในการสำรวจเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาให้ตรงจุดตามหลักเกษตรแม่นยำ ซึ่งจากผลการทดสอบสามารถที่จะลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตจาก 10 ตันต่อไร่เป็น12 ตันต่อไร่ ได้อีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า