ภูมิภาค

ภาคเอกชนยังหวั่น แม้การปลดล็อคจากภาวะโควิดจะเริ่ม 1 มิ.ย. แต่ราคาน้ำมัน-สงคราม-การรัดเข็มขัดใช้จ่าย ยังส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ

ตั้งเป้าประเมิน 3 เดือนแรก ใครจะอยู่ใครจะไป วอนรัฐเร่งลงทุนในระดับพื้นที่และกำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ชัดเจน เน้นการลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการเพราะหลายคนยังอยู่ไอซียู

เมื่อเวลา 14.00 . วันที่ 31 ..2565 ที่โรงแรมราชาวดีรีสอร์ท แอนด์ โฮเต็ล .ขอนแก่นนายเข็มชาติ  สมใจวงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้า .ขอนแก่น ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่ามาตรการคลายล็อคในด้านต่างๆตามที่รัฐบาลและ ศบค. รวมไปถึงคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อระดับจังหวัดที่ได้กำหนดมาตรการผ่อนคลายในด้านต่างๆและมีกำหนดความชัดเจนในการมีผลบังคับใช้เริ่มวันที่ 1 มิ..ที่จะถึงนี้ ซึ่งภาคธุรกิจเอกชน รวมไปถึงภาคประชาชนและคนไทยทั้งประเทศต่างรอคอยถึงการผ่อนปรนและผ่อนคลายกับภาวะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังคงป้องกันตัวและรักษามาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด ซึ่งผู้ประกอบการในเขต .ขอนแก่น ส่วนใหญ่พร้อมขึ้นเวทีเพื่อขึ้นชกอีกครั้งกับแนวทางที่ผ่อนคลายลง และการควบคุมโรคมีผลที่เด่นชัด แต่ก็ต้องมองถึงปัจจัยเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งมนเรื่องของภาวะสงคราม,ราคาน้ำมันและการรัดกุมการใช้จ่ายเงิน

โดยจะเห็นได้จากการซื้อขายสินค้าและการใช้บริการที่มีการจำกัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก ดังนั้นภาคเอกชนจึงยังคงต้องประเมินแบบรายไตรมาสในการที่จะขยับในด้านต่างๆให้เพิ่มขึ้น เพราะสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในรอบเกือบ3 ปีที่ผ่านมาหลายคนยังคงอยู่ไอซียู และยังคงไม่มีแนวทางในการที่จะกลับมาต่อสู้หรือประคองหรือพยุงภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคบริการ การค้า เอสเอ็มอี หรือแม้กระทั่งโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กที่ยังคงต้องจำกัดเรื่องต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

ขอนแก่น โชคดีที่ยังคงมีภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมากระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทั้งการลงทุนภาครัฐ,การให้บริการทางการแพทย์ การศึกษาและการคมนาคม ที่ทั้งหมดก่อให้เกิดการใช้จ่ายแบบเชื่อมโยงกัน ซึ่งจาการเปิดๆปิดๆในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการมีประสบการณ์แต่ก็มีความหวังที่จะกลับมาคึกคักและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆที่คึกคักอีกครั้ง ซึ่งรัฐก็ควรที่จะเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในด้านการลงทุนที่คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ ลงทุนในการประชุม สัมนนา หรือการใช้จ่ายในระดับพื้นที่ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มพนักงานเอกชนที่มีรายได้ประจำ ที่ผู้ประกอบการยังคงต้องรัดเข็มขัด จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มคนเหล่านี้ยังคงมีรายรับเท่าเดิมแต่ค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพที่แพงขึ้นทุกอย่าง

นายเข็มชาติ กล่าวต่ออีกว่า ยกตัวอย่างธุรกิจโรงแรมของตนเอง ที่ขณะนี้เรียกตัวพนักงานทุกแผนกกลับมาประจำการในอัตราร้อยละ 50 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ทุกคนต้องช่วยกันทำงานในฝ่ายต่างๆเพื่อประคับประคองกันให้ก้าวผ่านไปให้ได้ ซึ่งทุกคนก็ได้รับเงินเดือนแบบคงที่ แต่รายจ่ายนั้นมีมากขึ้นน้ำมันแพง,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแพง,ข้าวสารแพง,ไข่แพง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องควบคุมราคาและมีความชัดเจนในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องต้นทุนให้มากขึ้น ทั้งเรื่องภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะหากผู้ประกอบการนั้นเดินหน้าต่อไปได้ การจ้างงานก็จะเดินหน้าต่อไปได้อีกด้วย อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็นมาตรการการตรึงราคาน้ำมัน,คนละครึ่ง,เราเที่ยวด้วยกัน ,การเข้าถึงสถาบันการเงินหรือการพักชำระหนี้หรือนโยบายด้านภาษี ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจยังคงรอความชัดเจนจากรัฐบาล ซึ่งอาจจะประกาศแบบรายไตรมาสหรือรายปี ก็ขอให้มีออกมาช่วยบ้าง ไม่ใช่ประกาศผ่อนคลายแต่ก็ไม่มีนโยบายใดๆออกมารับลูกเพื่อให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศหรือระดับภูมิภาค นั้นก้าวเดินไปด้วยกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า