ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นบ้านอีสาน”โหวด”
ผู้คิดค้นพัฒนาโหวดติดขี้สูด ดร.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ นำวง โหวดเสียงทอง มาบรรเลงโหวด หน้าไฟ ส่งดวงวิญญาณ และไว้อาลัยกับสมาชิก ผู้ร่วมก่อตั้งวงโหวด ทีอำเภอหนองพอก ร้อยเอ็ด
เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2565 ณ เมรุวัดแสงอรุณ ตำบลรอบเมือง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ดร.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้านอีสาน“โหวด” ผู้เชี่ยวชาญการสอนดนตรีพื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ผู้เชี่ยวชาญดนตรีพื้นบ้าน(โหวด) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ที่ทำให้โหวดกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด นำวงโหวดเสียงทอง มาบรรเลงโหวด หน้าไฟ ส่งดวงวิญญาณ และไว้อาลัยกับสมาชิก ผู้ร่วมก่อตั้งวงเมื่อ พ.ศ.251ุุุ6 ที่เสียชีวิตด้วยวัยชราภาพ
ดร.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เล่าว่า สมัยเด็ก ย้อนหลังไปเมื่อ 60 กว่าปี ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี จะนิยมนำไม้ไผ่เฮี่่ยมา “ แงวโหวด” ตามท้องทุ่งนา เหมื่อนสนู่ว่าว ตนเองชอบไปนั่งดูนายบวรณ์ ศรีวะรมณ์ (ผู้วายชนม์)รุ่นพี่แห่งท้องทุ่งนา “แงวโหวด“เสียงไพเราะจับใจ จึงเกิดความคิดพัฒนาโหวดมาเป็นดนตรีชนิดเป่าโดยนำ“ไผ่เฮี่่ย“ตามท้องทุ่งนามาติด“ขี้สูด“ใส่โน้ตโด–เร–มี “ , โซ, ลา, โด, เร, มี, โซ, ลา, โด, เร, มี, โซ, ลา ” เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ดโหวดเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น ลักษณะ เป็นกระบอกไม้ไผ่นำมามัดเรียงกันเป็นแพเดียวกัน รอบแกนเป็นวงกลม เสียงมีความแตกต่างกันตามความสั้นยาวของ กระบอกไม้ ถ้ากระบอกไม้สั้นเสียงสูง กระบอกไม้ยาวเสียงจะต่ำ
สุเทพ ลอยแก้ว/รายงาน