ภูมิภาค

ฝนตกหนักในสุราษฎร์ธานี ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 130 ครัวเรือน มีผู้ถูกกระแสน้ำพัดสูญหาย 1 ราย

ผู้ว่าฯ สั่งเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

วันที่ 7 ..2565 นายวิชวุทย์  จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับรายงานจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่า ตามที่ได้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากตั้งแต่ วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2565 ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีใน3 อำเภอ  ได้แก่ .วิภาวดี .ไชยา และ .ท่าฉาง  รวม 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 130 ครัวเรือน 523 ราย  มีผู้สูญหาย 1 ราย เนื่องจากถูกกระแสน้ำพัด ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ข้ามหลังท่อ box culvert  มีบ้านเรือนพังเสียหายทั้งหลัง 7 หลัง เสียหายบางส่วน18 หลัง ถนนในหมู่บ้านชำรุดเสียหาย 25 สาย สะพาน/คอสะพานชำรุดเสียหาย 18 แห่ง

  

สถานการณ์ปัจจุบัน ยังมีฝนตกเล็กน้อย ปริมาณน้ำฝนสะสม 24 ชม.ที่ผ่านมา  มากที่สุด หมู่ที่ 7 บ้านคลองไม้แดง  ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา วัดได้  173 มม. ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง  โดยพื้นที่ได้ผลกระทบ จำนวน 3 อำเภอ 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน  ประกอบด้วย  อำเภอวิภาวดี  ตำบลตะกุกเหนือ หมู่ที่ 7,8,11,13,15 มีบ้านเรือนพังเสียหายบางส่วน 9 หลัง ราษฎรได้รับผลกระทบจำนวน 52 ครัวเรือน 208 คน อำเภอไชยา   ตำบลปากหมาก  หมู่ที่ 7 มีบ้าน พังเสียหายทั้งหลัง 7 หลัง เสียหายบางส่วน 8 หลัง ราษฎรได้รับผลกระทบ จำนวน 45 ครัวเรือน 180 คน  และอำเภอท่าฉาง  ตำบลปากฉลุย   หมู่ที่ 4,5 มีบ้านเรือนพังเสียหายบางส่วนหนึ่งหลัง มีผู้สูญหายจำนวน 1 ราย ถูกกระแสน้ำพัด ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ข้าม box culvert ราษฎรได้รับผลกระทบ 33 ครัวเรือน 135 คน

     

ในส่วนของการให้ความช่วยเหลืออำเภอวิภาวดี อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทหาร ตำรวจ อาสามัคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันช่วยยกของขึ้นที่สูง  ค้นหาผู้สูญหาย และได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยแล้ว  ความเสียหายอื่นๆอยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

   ในการนี้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ อุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้สั่งการอำเภอและหน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลองด้านล่าง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง  และให้จัดเตรียมศูนย์อพยพ เครื่องมือ อุปกรณ์ รถยกสูง หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันที       

    

นอกจากนี้ให้ประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรในพื้นที่ ไม่ขับรถผ่านทางน้ำข้าม หรือลงไปในพื้นที่น้ำท่วมเพื่อป้องกันการสูญเสีย  และจัดกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปพร.อาสาสมัคร มูลนิธิ เฝ้าระวังต้นไม้เศษไม้ ขยะมากับน้ำติดที่ตอม่อสะพานให้กำจัดออก จากตอม่อสะพานทันที

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า