การเมือง

จับตา “สาธารณสมบัติของแผ่นดิน” สัมปทานรถไฟ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ เอื้อนายทุนผูกขาด (3) *โดย ‘พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง’ เลขาธิการพรรคประชาชาติ

เอกชนคู่สัญญาคือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด , บริษัทไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (CRCC : China Railway Construction Corporation Limited สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM), บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) และบริษัท .การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK)) ซึ่งตามสัญญาข้อ 8.1 (3) บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ต้องชำระค่าให้สิทธิ์ร่วมลงทุนในแอร์พอร์ต เรลลิงก์แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเงินจำนวน 10,671 ล้านบาทเศษ ที่ครบกำหนดชำระภายใน 2 ปีในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 แต่ ครม. ได้เปิดโอกาสให้แก้สัญญาที่เปิดช่องทางเอื้อคู่สัญญา อ้างเหตุผลย้อนแย้งกับความจริง

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีเอกชนคู่สัญญา เป็นหนึ่งในผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 งบการเงินของบริษัทแม่ของเอกชนคู่สัญญา คือ

บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือเครือซีพีที่มีธุรกิจหลักด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร  (CPF รายได้ปี 2563 เท่ากับ 5.95 แสนล้านบาท) ธุรกิจค้าปลีก (CPALL รายได้ 5.46 แสนล้านบาท) และธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม (TRUE รายได้ 1.43 แสนล้านบาท) ในปี2563 รวมกัน 3 ธุรกิจหลักในเครือ มีรายได้กว่า 1.28 ล้านล้านบาท

บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) รายได้ 1.43 หมื่นล้านบาท

บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) รายได้ 5.49 หมื่นล้านบาท

บริษัท .การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) รายได้ 1.82 หมื่นล้านบาท

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า