การเมือง

“ทีมผู้กองธรรมนัส” ขยายแคมเปญพัฒนา “เศรษฐกิจไทย” เชียงราย – น่าน

ผู้กองธรรมนัสยังออกตัวแรง พาทีมผลักดันโครงการตั้งต้นเศรษฐกิจ .เชียงราย สร้างศักยภาพเมืองเศรษฐกิจการค้าสำคัญของประเทศ ส่วน .น่าน เริ่มที่อ่างเก็บน้ำกว่า 78 ล้านลบ. เพิ่มพื้นที่การเกษตรสร้างอาชีพ บูมท่องเที่ยวให้ลุ่มน้ำน่านตอนบน

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 หลังจากลงพื้นที่จ.พะเยา เพื่อพบปะประชาชน สอบถามปัญหาเดือดร้อน มอบถุงยังชีพให้ผู้ที่ประสบปัญหาเชื้อไวรัส โควิด-19 แพร่ระบาด พร้อมเปิดรับสมัครสมาชิกให้ความสนใจเป็นจำนวนมากนั้น วันนี้ร..ธรรมนัส พรหมเผ่า ..เขต 1 และนายจีรเดชศรีวิราช ..เขต 3 .พะเยา พรรคเศรษฐกิจไทย พร้อมด้วยน..ธนพร ศรีวิราช และทีมงานเดินทางไปที่เทศบาลตำบลเมืองพาน .พาน .เชียงราย มอบจำนวน 1,300 ชุด ให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนใน 15 ตำบล 10 ชุมชน โดยควบคุมด้วยมาตรการคัดกรอง ป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในนามมูลนิธิธรรมนัส พรหมเผ่า เพื่อการกุศล ยังได้ช่วยสร้างบ้านพักอาศัยให้แก่ผู้ยากไร้อีกจำนวน 2 หลัง ท่ามกลางบรรยากาศปลาบปลื้มและประทับใจจากทุกฝ่าย ที่มาร่วมกิจกรรมและมอบกำลังใจให้กันอย่างเป็นกันเอง โดยร..ธรรมนัส กล่าวถึงความพยายามบรรเทาความเดือดร้อนกรณีปัญหาต่างๆ รับจะเร่งประสานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกิน ราคาพืชผลตกต่ำ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

วันนี้ได้มาพบปะและรับฟังปัญหาของพ่อแม่พี่น้องพื้นที่ตำบลเมืองพาน .พาน และชุมชนใกล้เคียงแล้วรู้สึกเข้าใจในเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆ หากสิ่งใดที่ผมและทางมูลนิธิฯสามารถช่วยเหลือได้ก็จะดำเนินการให้ทันทีครับ..ธรรมนัส กล่าว

สำหรับนโยบายของพรรคเศรษฐกิจไทย สำหรับพัฒนาเร่งด่วนในพื้นที่ .เชียงราย เพื่อเศรษฐกิจและการค้ารวมถึงระดับประเทศนั้น ได้แก่ 1.น้ำอิงตอนล่าง เพื่อแก้ปัญหาการกักเก็บน้ำในฤดูแล้ง แก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน 2.แก้ปัญหาราคาพืชผล ผลักดันการแก้ปัญหาราคาลำไย และ 3.ผลักดันทุกมิติเพื่อส่งเสริมศักยภาพเมืองเศรษฐกิจการค้าสำคัญของประเทศไทย

ทั้งนี้ ในวันที่ 8 มีนาคม ..ธรรมนัส มีกำหนดเดินทางพร้อมด้วยทีมงานไปจ.น่าน เพื่อมอบถุงยังชีพ 300 ชุดให้ผู้ประสบความเดือดร้อนจากโรคระบาดโควิด-19 พร้อมตรวจเยี่ยมและมอบเงินทุนสร้างบ้านให้ผู้ประสบอัคคีภัยที่อ.ท่าวังผา โดยเฉพาะพบปะผู้นำชุมชน และติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำกิพร้อมระบบท่อส่งน้ำ .ผาทอง ซึ่งอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบก่อสร้าง  Construction design survey or EAR

ผลสำรวจเบื้องต้น พบว่าหากโครงการดังกล่าวดำเนินการเสร็จ จะสามารถพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม และเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบน นอกจากนั้นยังสามรถส่งเสริมอาชีพธุรกิจการท่องเที่ยวได้อย่างกว้างขวาง รวมถึงอ่างเก็บน้ำนี้ยังสามารถบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านตอนบน (เหนือเขื่อนสิริกิติ์) ความจุระดับน้ำกักเก็บ 73.7 ล้านลบ. และความจุที่ระดับน้ำสูงสุด 78.5 ล้าน ลบ.. เป็นต้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า