การเมือง

“ทวี สอดส่อง”เสนอร่าง พ.ร.บ.กยศ. ปลุกสภาฯปลดโซ่ตรวนลูกหนี้ กยศ. ตัดดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ-เปลี่ยนเงินกู้

เป็นกองทุนการศึกษา (1)

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 ในวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(...) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่..) .. .. ซึ่งพันตำรวจเอก ทวี สอดส่องเลขาธิการพรรคประชาชาติและคณะ เป็นผู้เสนอร่าง และได้อภิปรายสรุป

พันตำรวจเอก ทวี อภิปรายว่าร่าง ...กยศ.เสนอเข้ามา 5 ร่าง ร่างของพรรคประชาชาติอาจจะมีฐานคิดที่ต่างกัน เพราะมองเห็นว่าการศึกษาเรียนรู้เป็นการพัฒนามนุษย์ สิ่งที่มนุษย์ทุกคนนำติดตัวมาก็คือสมองกับความคิด สติปัญญา  มนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อศึกษาเรียนรู้ เพราะความรู้เท่านั้นที่จะสามารถนำประเทศและสังคม ไปสู่การพัฒนา การวัดคุณภาพของสังคมใดสังคมหนึ่งจะวัดกันที่คุณภาพของคน ไม่ได้วัดกันทีอำนาจหรือความกว้างขวาง ที่สำคัญหลักคิดของพรรคประชาชาติเรามองว่าการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องดูแลคนในประเทศ เพราะรัฐบาลคือผู้เก็บภาษีอากรของประชาชน สิ่งที่ผมพูดนี้ความจริงแล้วในรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็มีความชัดเจนเนื่องจากว่า ...กยศ. ได้บอกหน้าที่ของประชาชนไว้ มาตรา 50 (4) ประชาชนต้องเข้ารับการศึกษาอบรมการศึกษาภาคบังคับ หน้าที่ของประชาชนทุกคนคือต้องศึกษา และยังกำหนดหน้าที่ของรัฐ ระบุไว้ในมาตรา 51 ในหมวดหน้าที่ของรัฐย่อมเป็นสิทธิ์ของประชาชน ชุมชนถ้าประชาชนเห็นว่ารัฐไม่เร่งดำเนินการ ปล่อยปละละเลย ประชาชนก็จะมีสิทธิ์ที่จะฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องได้

ในมาตรา 54 จะเห็นว่าเรามีการศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ในการลงประชามติได้มีเสียงเรียกร้องตำหนิต่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาด้อยกว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านๆมา คือรัฐธรรมนูญฉบับปี2540 และรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 คสช.ได้ออกคำสั่งที่ 28/2559 เรื่องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี คือระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา อันนี้ต้องเป็นการศึกษาฟรีแบบมีคุณภาพ วันนี้รัฐบาลไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ ท่านไปพูดข้างๆคูๆว่ามีความเสมอภาคทางการศึกษา ในรัฐธรรมนูญบอกว่าคนที่ยากไร้ขาดแคลนทุนทรัพย์ รัฐจะต้องสนับสนุน และรัฐต้องมีกองทุน ซึ่งรัฐได้มีกองทุนจริงเป็นกองทุนเพื่อเสมอภาคทางการศึกษา เราจะเห็นได้ว่ากองทุนนี้ได้รับงบประมาณปีละ 5 พันล้านบาท ปรากฏว่าเกือบ 99% ไปแย่งทำงานกับการเรียนฟรี 15 ปีทั้งที่ในกฎหมายเรื่องการศึกษานั้น หากผู้ปกครองไม่ส่งลูกเรียนจะถูกปรับ 1,000 บาท หรือ10,000 บาท แต่ทำไมกองทุนนี้ไม่ดำเนินการกับผู้ขาดแคนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ดังนั้นกองทุน กยศ.ที่เกิดขึ้นจึงเห็นว่าในอดีตอาจจะใช่ แต่ในปัจจุบันเห็นว่าต้องเป็นกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับผู้ขาดแคลน’ “

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า