บทความ-สารคดี

มหัศจรรย์ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว (วัดเรืองแสง)

วัดสิรินธรฯ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดภูพร้าว หรือวัดเรืองแสง  เป็นวัดราษฎร์ ธรรมยุตินิกาย อยู่ .ช่องเม็ก .สิรินธร .อุบลราชธานี ใกล้ด่านพรมแดนช่องเม็ก พื้นที่วัดอยู่บนยอดเขาสูง มองเห็นทัศนียภาพได้กว้างไกล สิ่งปลูกสร้างจึงถูกออกแบบให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับธรรมชาติที่สวยงาม

โครงสร้างอุโบสถจำลองรูปแบบมาจากวัดเชียงทอง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว นำศิลปะมาประยุกต์เข้าด้วยกันระหว่างล้านนาและล้านช้าง ประติมากรรมผนังด้านนอกอุโบสถ เป็นต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสงได้ เพราะสร้างด้วยกระเบื้องเคลือบสารฟลูออเรสเซนต์ จะเห็นเรืองแสงชัดเจนในช่วงเย็น งานตกแต่งและบริเวณโดยรอบ จำลองคติทางพระพุทธศาสนากำหนดให้เป็นป่าหิมพานต์ ผสมผสาน งานปูนปั้นสดกับงานไม้แกะสลัก การใช้เทคนิคสีกับงานปิดทอง งานประดับโมเสดและงานปิดทอง ให้สอดคล้องกันอย่างกลมกลืน

เรื่องราวความเป็นมาของวัดสิริธรภูพร้าว เดิมเป็นป่าสมบูรณ์ แต่ไม่มีแหล่งน้ำเพราะเป็นหน้าผาสูง จึงไม่มีชาวบ้านอาศัย  ต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปัญโญ เดินทางจากลาว เพื่อเผยแผ่ธรรมะในฝั่งไทย ได้มาปักกลดพักที่ภูพร้าว

ในราวปี ..2495-2498 ท่านได้ขอบิณฑบาตพื้นที่แห่งนี้ไว้สร้างเป็นวัด เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญระหว่างชาวไทยและลาว เนื้อที่สร้างวัดประมาณ 500 ไร่  ท่านได้เคยปรารภกับศิษย์ไว้ว่าในอนาคต จะมีผู้มีบุญ มาบำเพ็ญบารมีของเขาให้เต็มบริบูรณ์เขาจะมาสร้างสถานที่แห่งนี้ให้รุ่งเรือง จะมีพระสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาจำนวนมากมาในสถานที่แห่งนี้ ปราชญ์บัณฑิตจะแวะมาพักอาศัยมิได้ขาด


ปี
..2516-2517 พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปัญโญ ได้เดินทางกลับวัดภูมะโรงเมืองจำปาสัก เนื่องจากเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศลาว ในปี 2524 ท่านได้มรณภาพ ที่วัดภูมะโรง สิริอายุ 72 ปี วัดภูพร้าวจึงถูกปล่อยร้างเรื่อยมา

ปีพ..2535 อำเภอสิรินธรได้แยกจากอำเภอพิบูลมังสาหาร จึงมีการเปลี่ยนชื่อวัดตามชื่ออำเภอ เป็นวัดสิรินธรวราราม

ปี 2542 พระครูกมลภาวนากร ลูกศิษย์พระอาจารย์บุญมาก ได้นำคณะลูกศิษย์มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมดังเดิม

พระครูกมลภาวนากร ท่านเคยเล่าไว้ว่า พื้นที่วัดมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและมีความพิเศษ คือมีหินคล้ายลูกมะพร้าวเต็มไปหมด เมื่อทุบออกมาจะมีฝุ่นหรือเม็ดหินใสๆแวววาวระยับคล้ายเพชรพลอย ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ เป็นมะพร้าวที่ฤาษีทำเอาไว้ จึงเอาไปรักษาโรค และเรียกลูกนี้ว่าภูพร้าวต่อมามีคนเก็บเอาไปขายจนหมด

หลังจากนั้นวัดได้รับการพัฒนาเรื่อยมา จนพระครูกมลภาวนากรได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ..2549 ปัจจุบัน พระครูปัญญาวโรบล เป็นเจ้าอาวาส มีภิกษุสามเณรตลอดจนอุบาสกและอุบาสิกามาปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำมิได้ขาด

วัดนี้เป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและฝึกปฏิบัติธรรม เปิดให้นมัสการและเยี่ยมชม ตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 . ผู้เข้ามาในบริเวณวัดควรแต่งกายสุภาพ งดนุ่งสั้น ซึ่งทางวัดได้จัดเตรียมผ้าซิ่นไว้ให้บริการด้วยค่ะ

(ขอบคุณข้อมูลจาก วัดภูพร้าว,สารสนเทศถิ่นอีสาน,MGR online,Museum Thailand,Guide Ubon.com)

#เปิ้นอยากเล่า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า